วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หนาวแล้วไม่แคล้วต้องแก้ปัญหาเรื่องพืชใบเหลือง

ปีนี้ ประชาชนคนไทยคงได้ชุ่มชื้นฉ่ำใจกับวันที่ 5 ธันวามหาราชไปแล้วเมื่อวานนี้ อีกทั้งได้มีโอกาสน้อมนำพระราชดำรัสพ่อหลวงของเราชาวไทยทุกถ้วนทั่วตัวตน เพื่อนำไปใส่เกล้าใส่กระหม่อมน้อมนำปฏิบัติในสิ่งที่พ่ออยากให้เป็น อยากให้ทำนั่นก็คือ เรื่องของความรู้รักสามัคคีของคนในชาติให้ถ้วนทั่วทุกตัวตนซึ่งจะทำให้เกิด ความสงบสุขและเกิดความปีติยินดีมีความสุขกับพ่อหลวงของเราชาวไทยทั้งประเทศ ที่ไม่ต้องทนทุกข์ ทนเห็นลูกๆ มัวแต่ทะเลาะเบาะแว้งกัน

อากาศที่หนาวมาก หนาวนานกว่าปีก่อนๆในห้วงช่วงสองสามปีมานี้ก็ถือเป็นปัจจัยที่ตอกย้ำให้พวกเราชาวไทยได้มีความสุขกับบรรยากาศที่น่าพักผ่อนหย่อนใจ ตะลอนไปในที่ต่างๆเพื่อสร้างความสุขให้แก่ตนเองและครอบครัว เนื่องด้วยประเทศไทยเรานั้นมีสถานที่ให้ท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวความสุขมากมาย ทั้งดอยอ่างขาง, ดอยสุเทพ, ดอยอินทนนท์, ภูชี้ฟ้า, ภูกระดึง, ไร่ทานตะวัน, ปาย และอื่นๆอีกมากมาย ที่ผู้เขียนไม่สามารถนำมาบอกกล่าวได้หมด
แต่ที่สำคัญความหนาวนี้ย่อมมีผลและนัยยะต่อการทำเกษตรกรรมของพี่น้องเกษตรกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะจะทำให้พืชหยุดหรือชะงักการเจริญเติบโต อีกทั้งในพื้นที่ที่หนาวจัดอาจจะทำให้เกิดแม่คะนิ้งหรือน้ำค้างแข็ง โมเลกุลของน้ำที่มี 3 สถานะนั้น คือเป็นของแข็ง, ของเหลว และก๊าซ เมื่อโดยปรกติน้ำที่เป็นของเหลวอยู่ในเซลล์ของพืชก็จะช่วยในเรื่องของการทำให้เซลล์เต่งตึง ขับเคลื่อนสารอาหาร แต่เมื่ออุณหภูมิต่ำลง น้ำจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็ง ซึ่งจะทำให้มวลขยายใหญ่ขึ้น เมื่อขยายใหญ่ขึ้นและเป็นของแข็งจึงทำให้เซลล์พืชแตกหักถูกทำลาย ถึงช่วงสายอุณหภูมิสูงขึ้นน้ำเปลี่ยนจากของแข็งเป็นของเหลวและก๊าซบางส่วน ทำให้เนื้อเยื่อเซลล์ที่ถูกทิ่มแทงกลายเป็นรอยบอบช้ำ ไหม้เกรียม วิธีผ่อนหนักเป็นเป็นเบาคือลดการเกาะติดของน้ำในช่วงกลางคืนด้วยการใช้ สารจับใบ ม้อยเจอร์แพล้นท์ นำมาฉีดพ่นในช่วงเย็น เพื่อให้เคลือบผิวใบไว้ ป้องกันหยดน้ำที่จะมาเกาะที่ใบในช่วงกลางคืนให้ไหลหลุดร่วงหล่นไปที่พื้นดิน หยดน้ำเกาะที่ใบน้อย น้ำที่จะแข็งเคลือบใบพืชก็น้อย เหลือแต่เพียงน้ำที่อยู่ภายในเซลล์ การทำลายของน้ำต่อเซลล์พืชก็จะน้อยลง
ปัญหาเรื่องความหนาวใช่ว่าจะหมดไปแค่นั้น ยังมีเรื่องของผลกระทบต่อการเผาผลาญอาหารของพืชด้วยเช่นกัน คือกระบวนการดูดกินสารอาหารในพืชก็จะเฉื่อยเอื่อยลงด้วยเช่นกัน เมื่อพืชไม่สามารถที่จะดูดกินอาหารได้ดั่งเดิม ก็ย่อมจะแสดงออกมาทางใบให้พี่น้องเกษตรกรได้เห็น เช่นใบจะเริ่มเหลือง ชะงัก หยุดการแตกกอต่อยอด  เกษตรกรบางท่านอาจจะตกใจและเร่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหรือปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูงๆ เข้าไปทันที จะบอกว่าวิธีการแบบนั้นถือว่าไม่ถูกต้องมากนัก เพราะหลังจากที่อากาศกลับมาเป็นปรกติจะทำให้พืชนั้น อวบอ้วน เฝือใบ งามเกิน จนอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง วิธีการแก้ไขต้องปรับแต่งแร่ธาตุสารอาหารที่มีผลต่อการ เมแทบอลิซึม (metabolism) คือการให้แร่ธาตุกำมะถัน, สังกะสี, นิกเกิล และซิลิสิค แอซิด ฯลฯ (ชื่อการค้า ไรซ์กรีนพลัส”) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำให้พืชสร้างภูมิต้านทานต่ออากาศที่แปรปรวนหนาวจัด หรือร้อนจัดได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งไม่ทำให้พืชอวบอ้วนอ่อนแอเหมือนการใช้ปุ๋ยยูเรีย

คุณมนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com 

ไม่มีความคิดเห็น: