วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ช่วยปุ๋ยละลายช้า รีบไปหา พูมิช (Pumish)

ในอดีตปุ๋ยที่ใช้กันอยู่ในบ้านเราจะละลายค่อนข้างเร็ว เนื่องด้วยพฤติกรรมของผู้ใช้มักจะเชื่อว่าปุ๋ยที่ใส่ลงไปให้แก่พืชแล้วนั้นจะต้องละลายออกไปในทันทีทันใด ถ้าละลายช้าจะไม่ดีไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชอีกทั้งบางครั้งยังคิดว่าน่าจะเป็นปุ๋ยปลอม ปุ๋ยไม่ได้มาตรฐานมีดิน มีหินปลอมปนเข้ามามากเกินไป จึงทำให้ผู้ผลิตปุ๋ยส่วนใหญ่จะต้องกำหนดคุณสมบัติของปุ๋ยให้ปลดปล่อยและละลายแร่ธาตุสารอาหารออกมาให้แก่พืชโดยเร็วที่สุด ข้อเสียจึงทำให้พืชดูดกินไม่ทัน กินไม่หมด กินจริงๆได้ประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือก็เสื่อมสลายหายไปกับอากาศ สายลม แสงแดด และส่วนหนึ่งจะซึมลึกลงไปใต้ผืนดินเกินระดับรากพืชจะดูดซึมได้ จึงทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการใส่ปุ๋ยไปโดยใช่เหตุ
เนื้อปุ๋ยจริงๆที่อยู่ในส่วนผสมของแต่ละสูตรนั้น จะไม่ใช่เนื้อปุ๋ยตามน้ำหนักทั้งหมด จะมีเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์จริงตามสูตรของปุ๋ยแต่ละชนิด อย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ที่หนัก 50 กิโลกรัม ก็จะมีเนื้อปุ๋ยจริงอยู่ 23 กิโลกรัม และส่วนที่เหลือเป็นส่วนเติมเต็มที่พระราชบัญญัติกฎหมายของไทยเราอนุญาตให้นำมาใส่เติมเต็มได้ เมื่อใส่ต้นไม้และรดน้ำหรือฝนตกเนื้อปุ๋ยที่เป็นสสารไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็จะละลายออกมาทันที ส่วนฟิลเลอร์หรือสารเติมเต็มก็อาจจะหลงเหลือตกค้างอยู่บ้าง แต่นั่นไม่ใช่ปุ๋ยเป็นเพียงอนุมูลที่ให้ปุ๋ยมากเกาะอยู่เท่านั้น  ดังนั้นเนื้อปุ๋ยจะละลายหายไปทันทีถ้ารากพืชดูดไม่ทัน ยิ่งมีแสงแดดร้อนจัด หรือแม้แต่การละลายไหลลงไปเกินระดับความลึกของรากพืชจะดูดกินได้ นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ปุ๋ยจะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
PUMICE_New01.jpg
เมื่อปุ๋ยโดยทั่วไปมีคุณสมบัติที่ละลายเร็ว ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพืชได้มากนัก จึงต้องควรนำมาทำให้เป็นปุ๋ยละลายช้าเสียก่อน เหมือนปุ๋ยที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นที่ลงท้ายด้วยโค๊ทๆ ทั้งหลาย นั้นจะมีคุณสมบัติที่เป็นปุ๋ยละลายช้าอยู่แล้ว แต่เนื่องด้วยมีราคาที่ค่อนข้างแพงไปในบ้างครั้งจึงไม่เหมาะต่อการนำมาใช้ในพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่เป็น 10 ไร่ 100 ไร่ ฉะนั้นการทำปุ๋ยละลายช้าแบบเมด อิน ไทยแลนด์จึงมีความเหมาะสมกับวิถีไทยๆ แบบบ้านเรา ด้วยการนำปุ๋ยเคมี 2 กระสอบหรือ 100 กิโลกรัม พรมน้ำพอชุ่มชื้นแล้วนำ พูมิช (Pumish) 1 กระสอบ 20 กิโลกรัมนำมาเทกองผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน เนื้อ พูมิช (Pumish) ที่มีรูพรุนมหาศาล จึงสามารถที่สนับสนุนซัพพอร์ตสสารของปุ๋ยที่ละลายออกมาช่วยกักเก็บให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า และค่อยปลดปล่อยออกมาให้แก่รากพืชเมื่อดูดกินขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืช อีกทั้งยังสามารถเก็บใส่ถุงกระสอบปุ๋ยไว้ใช้ได้นานเป็นปี

คุณมนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14618&Param2=18

ไม่มีความคิดเห็น: