วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

2557 ปลอดสารพิษมาแรง

ปัจจุบัน(2557)คนเรามีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ทั้งทางตรง ทางอ้อม ทำให้เกิดกระแสคนรักสุขภาพมาขึ้น สังเกตได้จากผู้คนต่างหันมาบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ บ้างก็เรียกผักออแกนิกส์ บ้างก็ผักไร้สารพิษ หรือไม่ก็ผักอินทรีย์ แล้วแต่ใครจะให้นิยาม แต่ที่มาที่ไป...การผลิตก็ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก เน้นใช้วัตถุใกล้ตัวในท้องถิ่น ลดต้นทุนการผลิต ที่สำคัญปลอดภัยต่อผู้ใช้และก็ผู้บริโภค ซึ่งส่วนใหญ่รากฐานของการผลิตมาจากการเกษตรแบบดั้งเดิม บวกผสมผสานกับทฤษฎีใหม่ๆตามแนวพระราชดำริ

การจะปลูกพืชให้ปลอดจากสารเคมี ปลอดจากโรคแมลงศัตรูที่จะเข้าทำลายนั้น ต้องเริ่มจากสร้างภูมิคุ้มให้พืชแข็งแกร่งแมลงศัตรูทำลายไม่ได้ หากได้แต่ก็น้อย พืชบางต้นโตแข็งแรงดีแต่กลับอ่อนแอเป็นโรคเมื่อรากขาดออกซิเจนจากน้ำท่วมขัง หรือดินเปรี้ยวจัดจนฟอสฟอรัสและจุลธาตุไม่สามารถปลดปล่อยให้นำไปใช้ได้ ซ้ำสร้างปัญหาให้พืชอ่อนแอหนักเข้าไปอีก การเติมยูเรีย (46-0-0)หรือไนโตรเจนให้พืชมากเกินความจำเป็น ทำให้พืชบ้าใบเฝือใบ ต้นอ่อนเปราะหักล้มง่าย ยิ่งใช้ซ้ำใช้บ่อยก็ยิ่งสร้างอ่อนแอ โรคแมลงก็ยิ่งเข้าทำลาย ยิ่งฉีดพ่นยาเคมีด้วยแล้วยิ่งทำให้พืชผักปนเปื้อนสารพิษมากตามไปด้วย
งดใช้สารเคมีเพื่อรักษาตัวห้ำตัวเบียนแมลงศัตรูธรรมชาติเอาไว้ สร้างกับดักแสงไฟล่อแมลงเวลากลางคืน สลับกับฉีดพ่นจุลินทรีย์ทริปโตฝาจและสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ป หากมีเชื้อราเข้าทำลายก็ฉีดพ่นด้วยไตรโคเดอร์ม่าและบาซิลลัสพลายแก้ว หว่านปุ๋ยก็เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ควรทำอันดับแรกก็คือตรวจวัดสภาพดินว่าเป็นกรดหรือด่าง ให้รู้ทิศทางว่าควรจะปรับปรุงดินอย่างไรถึงเหมาะสม หากเป็นกรด pH ต่ำกว่า 5.8 ก็ให้ใช้พูมิช แต่หาก pH สูงกว่า 6.3 หรือด่างก็ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตกระสอบแดงแทน นอกจากนี้สารดังกล่าวยังช่วยสลายสารพิษตกค้างในดิน ไล่เกลือลดความเค็ม จับตรึงปุ๋ยให้ละลายช้าลง ช่วยประหยัดต้นทุน ท่านใดสนใจแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือเสนอแนวคิดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่โทร. 081-3983128 (ผู้เขียน)

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: