วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

มะนาวใบเหลืองรากเน่าทำไงดี

ถ้าพูดถึงโรคของมะนาวแล้วอันดับหนึ่งน่าจะเป็นโรคแคงเกอร์ รองลงมาก็น่าจะเป็นโรครากเน่าโคนเน่า ที่ทำให้มะนาวของท่านแห้งตายได้ บทความตอนนี้ผู้เขียนขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรครากเน่าโคนเน่าในมะนาว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว  เพราะฤดูฝนถึงช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง ทำให้ดินมีความชื้นสูงตามไปด้วย แต่ก็ใช่ว่าในฤดูแล้งจะไม่มีโอกาสเป็น ฤดูแล้งก็สามารถเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในมะนาวได้เหมือนกัน สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟท้อฟโธร่า (Phytophthora parasitica Dastur ) เชื้อราโรคพืชกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในดินปรกติอยู่แล้ว มันรอเวลาที่ต้นพืชหรือต้นมะนาวที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟท้อปโธร่าก็จะเข้าเข้าลาย สังเกตได้จากเวลาพบว่ามะนาวเป็นโรครากเน่าโคนเน่า จะไม่พบการระบาดทั่วทั้งแปลงแต่จะพบเป็นบางต้นและค่อยๆลุกลามไปยังต้นข้างเคียงนั้นแสดงให้เห็นว่า เชื้อราไฟท้อฟโธร่า จะเข้าทำลายต้นที่อ่อนแอมีภูมิคุ้นกันต่อโรคต่ำที่สุด แต่ถ้าดูแลให้ต้นมะนาวแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะลดลงตามไปด้วย

ลักษณะอาการของเชื้อราไฟท้อฟโธร่า (Phytophthora parasitica Dastur ) จะเข้าทำลายรากฝอย รากแขนง และตามโคนต้นของมะนาว ส่วนใหญ่เกษตรกรที่ปลูกมะนาวจะไม่ทราบเลยว่าต้นมะนาวที่ปลูกเป็นโรครากเน่า โคนเน่าจนกว่าต้นมะนาวจะเริ่มแสดงอาการออกมาให้เห็นทางใบคือ ใบของมะนาวเริ่มมีอาการเหลืองซีดโดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อนแล้วค่อยๆลุกลาม ไปเรื่อยๆ และใบก็จะเริ่มร่วงไปเรื่อยๆจนหมดต้นในที่สุด จากนั้นกิ่งของมะนาวเริ่มแห้ง และต้นมะนาวก็จะยืนต้นตายในที่สุด โรครากเน่าโคนเน่านี้จะไม่น่ากลัวเลยถ้าเกษตรกรที่ปลูกมะนาวรู้จักป้องกัน ตั้งแต่มะนาวยังไม่เป็นโรคไม่ใช่ว่าปลอดให้มะนาวแสดงอาการก่อนค่อยรีบมา รักษาทีหลังเพราะกว่าที่เราจะรู้ตัวว่ามะนาวเป็นโรครากเน่าโคนเน่าก็อาจ รักษาไม่ทันแล้ว
วิธีป้องกันหรือรักษาตามแนวทางของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในการป้องกันกำจัด ให้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเสมือน ร.ป.ภ. หรือ ยามคอยเฝ้ารากของต้นมะนาวไว้ไม่ให้มีเชื้อรา ไฟท้อฟโธร่า (Phytophthora parasitica Dastur ) เข้ามาทำลายต้นมะนาวของเราได้ ส่วนวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า นั้นสามารถใช้คลุกผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักในอัตราส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม ต่อ ปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม คลุกผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปโรยรอยๆโคนต้นของมะนาว ต้นละ ครึ่งกิโลกรัม ทุกๆ 2 สัปดาห์ หรือ เดือนละ 1 ครั้ง หรือจะใช้วิธีผสมน้ำฉีดพ่นก็ได้โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรแล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณต้นมะนาวก็ได้ครับ ทำอย่างนี้ เดือนละ 2 ครั้งเพื่อให้มีเชื้อไตรโคเดอร์ม่าอยู่เป็นยามเฝ้ารากมะนาวไว้แล้วใช้หินแร่ ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์โรยรอบๆทรงพุ่มของต้นมะนาวเพื่อให้พูมิชซัลเฟอร์ช่วย สร้างภูมิคุ้นกันโรคพืชของมะนาวกลับมาอีกครั้ง เพียงเท่านี้แล้วรับรองมะนาวที่ท่านปลูกไว้จะปลอดภัยต่อโรครากเน่าโคนเน่า ครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ คุณจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680
เขียนและรายงานโดย : คุณจตุโชค  จันทรภูมื (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
วันที่ 3 เมษายน 2557 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: