วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

ทบทวนเรื่องการป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์มะนาวก่อนถึงฤดูระบาด

ในช่วงตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2527 ที่ผ่านมา ได้มีเกษตรกรที่ปลูกมะนาวโทรเข้ามาปรึกษากับทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเกี่ยว กับโรคแคงเกอร์และวิธีป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ในมะนาวที่มักจะระบาดอย่างมาก ในช่วงถดูฝน-ปลายฤดูหนา ค่อนข้างมาก ทางผู้เขียนเลยนำข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ในมะนาวมาบอก เล่าให้พี่น้องเกษตรกรได้ทราบกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคแคงเกอร์มะนาวของท่านเอง ในช่วงฤดูฝนหน้าที่ใกล้เข้ามาแล้ว ท่านผู้อ่านที่เป็นแฟนพันธุ์ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษน่าจะพอทราบว่าต้องใช้ จุลินทรีย์ที่ชื่อว่า บีเอสพลายแก้ว ในการป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์นี้ แต่ทางผู้เขียนขอนำมาบอกกล่าวอีกซักครั้งเพื่อเป็นการทวนความจำของท่านที่ ทราบวิธีป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์แล้ว และเป็นข้อมูลให้กับท่านที่ยังไม่ทราบวีธีแก้โรคแคงเกอร์มะนาวแบบชมรมเกษตร ปลอดสารพิษได้รู้โดยทั่วถึงกัน
โรคแคงเกอร์เป็นโรคที่ถ้าปลูกมะนาวแล้วเกษตรกรทุกคนต้องประสบพบเจอกับโรคนี้ สาเหตุของโรคเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv.citri ( Hasse )Dye.  ลักษณะอาการ ใบของมะนาวจะแสดงอาการจุดนูนสีน้ำตาลเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยวงเหลือง พบทั้งสองด้านของใบ จุดเกิดกระจัดกระจายหรืออาจรวมกันทำให้เป็นแผลกว้าง
อาการที่ผลจะเห็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อกลางจุดมักแตกเป็นแอ่ง จุดแคงเกอร์บนผลที่เป็นโรคมากจะเชื่อมตัวกันเป็นแผลกว้างบนผล เชื้อแบคทีเรียจะเข้าทำลายที่ใบ กิ่งและลำต้นตามลำดับ
วิธีการป้องกันกำจัดส่วนใหญ่เกษตรกรที่ปลูกมะนาวจะใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่มทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือไม่ก็ สเตรปโตมัยซินซัลเฟต ฉีดพ่น แต่ก็ไม่ค่อยได้ผล ในทางกลับกัน คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ และ สเตรปโตมัยซินซัลเฟต ยังทำให้ต้นมะนาวโทรมลงกว่าเดิม ภูมิต้านทานต่อโรคที่เคยมีก็หายไปด้วยส่งผลให้การระบายในเที่ยวต่อๆไปรุนแรงมากกว่าเดิม และสารเคมียังตกค้างภายในดิน ทำให้ต้นมะนาวขาดภูมคุ้มกันทำให้โรคแคงเกอร์กลับมาระบาดอีก
          
วิธีการรักษาโรคเเคงเกอร์แบบฉบับชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะใช้วิธีชีวภาพ  โดยการใช้จุลินทรีย์ที่ชื่อว่า บีเอสพลายแก้ว วิธีการใช้ก็สามารถใช้ได้หลายรูกแบบแล้วแต่ความสะดวกของท่านเกษตรกรเอง วิธีที่1 ใช้จุลินทรีย์บีเอสพลายแก้ว ในปริมาณ 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล โดยทำการเฉาะผลมะพร้าวอ่อนทำเป็นฝาแง้มเปิด หยอดเชื้อลงไปแล้วหมักทิ้งไว้ให้ได้ 24 ชั่วโมงและไม่เกิน 48 ชั่วโมง หลังจากหมักได้ที่แล้วนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ในช่วงระยะเวลาแดดอ่อน หรือจะใช้ นมยูเฮชที รสหวาน 1 กล่อง หรือ นมถั่วเหลือง (แลคตาซอย, ไวตามิ้ลท์) 1 กล่อง นำมาเทใส่ถุงร้อน นำหนังยางมาผูกทำเป็นหูไว้ข้างหนึ่ง หยอดเชื้อลงไป 5 กรัม แล้วนำไปแขวนไว้ในที่ร่มทิ้งไว้โดยใช้ระยะเวลาเท่ากันกับวิธีหมักกับวิธีที่ 1 หลังจากหมักได้ที่แล้วก็นำมาผสมกับ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้เหมือนกัน หรือเกษตรกรที่ปลูกเยอะฉีดยาที่ใช้น้ำเป็น 1000-2000 ลิตร ก็ใช้วิธีหมักสูตรไข่ไก่ก็ได้ คือนำไข่ไก่ 5 ฟอง มาตอกลงในน้ำ 20 ลิตร คนให้ไข่แตกแล้วใส่เชื้อบีเอสพลายแก้วลงไป 5-10 กรัม จากนั้นใช้เครื่องตีออกซิเจนมาจุ่มหรือหย่อนทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นนำมาที่หมักไปขยายกับน้ำอีก 80 ลิตร รวมเป็น 100 ลิตรแล้วนำไปฉีดพ่น(ถ้าใช้น้ำมากกว่านี้ก็ใช้การเทียบอัตรากันเอาเองนะครับ สำหรับการฉีดถ้าโรคแคงเกอร์ระบาดอย่างรุนแรงให้ฉีดทุกๆ 3 วัน กรณีฉีดป้องกันให้ฉีดทุก 7-10 วัน(ถ้ามีฝนตกในวันที่ฉีดให้ทำการฉีดใหม่ในวันถัดไป)
วิธีการป้องกันกำจัด โรคแคงเกอร์ในมะนาวด้วยจุลินทรีย์บีเอสพลายแก้วของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ นี้ค่อนข้างได้ผลดีเยี่ยมจากการเก็บข้อมูลจากสมาชิกของทางชมรมฯที่ปลูกมะนาว อยู่ เช่นสมาชิกทางแถบ อำเภอทางยาง จังหวัดเพชรบุรี ที่เป็นแหล่งปลูกมะนาวอันดับต้นๆของเมืองไทย สมาชิกทางอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตรก็ได้ผลเป็นที่หน้าพอใจ นี่ยังไม่รวมอีกหลายแหล่งที่ใช้วิธีนี้แล้วได้ผลทั้งที่ สุพรรณบุรี ลพบุรี ทางภาคอีสานก็เยอะ ถ้ายังไงเกษตรกรที่ปลูกมะนาวแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับโรคแคงเกอร์อยู่ในเวลานี้ ก็ลองนำวิธีแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษไปแก้ปัญหาของท่านดูแล้วกันนะครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.085-9205846 (ผู้เขียน) หรือสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่เบอร์ 02-9861680-2

เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค  จันทรภูมี 

ไม่มีความคิดเห็น: