วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รับมือภัยแล้งเอลณิโญแบบพึ่งพาตนเอง


 

           เหตุการณ์ภัยแล้งที่มาแบบไม่ธรรมดา มาไม่ตรงตามฤดูกาลมีความผิดแผกแตกต่างจากภัยแล้งในช่วงปรกติที่ส่วนใหญ่จะ เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายน แต่ภัยแล้งที่พูดถึงนี้คือ "เอลณิโญ" ที่เกิดขึ้นในห้วงช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนหรือบางทีก็ยาวนานไปถึงเดือนตุลาคมโน่น เหมือนในปี 2547-2548 ที่ก่อนจะเจอภัยแล้งเอลณิโญเราก็จะโดนพายุฝนถล่มในหลายพื้นที่ก่อน โดยเฉพาะทางภาคเหนือและอีสาน ช่างเหมือนปรากฎการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้มากมายเหลือเกิน เหมือนมากจนน่ากลัวเพราะปรากฎการณ์เอลณิโญนั้น 4-5 ปีจะเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง และในปี 2547 นั้นก็ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งของเอลณิโญในช่วงที่ย่างเข้าเดือนตุลาคมพอดี

          ปรากฎการณ์เอลณิโญเกิดจากความผิดปรกติที่อุณหภูมในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวัน ออกคือทวีปอเมริกาใต้ (บราซิล ชิลี เปรู เอกวาดอร์) เริ่มมีอุณภูมิที่สูงขึ้นจนบรรยากาศเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเบาบางและลอยตัว ขึ้น คือมีหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้หย่อมความกดอากาศสูงทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกไหลเวียนเข้ามาแทน ที่ กระแสน้ำอุ่นที่ปรกติได้รับอิทธิพลจากลมสินค้าตะวันออกซึ่งถูกพัดพาไปกองรวม อยู่ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (ออสเตรเลีย, เกาะแก่งประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซียและภาคใต้ของไทย) ก็ค่อยๆไหลคืนกลับไปยังส่วนกลางและไหลเรื่อยลงมาจนถึงทางฝั่งตะวันตก ของมหาสมุทรแปซิฟิก

          กระแสน้ำอุ่นที่เคยถูกลมสินค้าตะวันออกพัดไหลมากองรวมอยู่ทางฝั่งตะวันตก ของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดฝนทางโซนนี้ค่อนข้างชุก ป่าไม้ทุ่งหญ้า พืชไร่ไม้ผลมีความเขียวขจี มีความอุดมสมบูรณ์จนมีเรื่องเล่ากล่าวขานกันว่าดินแดนทางใต้ของประเทศเรา นั้นมีฝนแปดแดดสี่ และเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปลมพัดหวนย้อนกลับกระแสน้ำอุ่นค่อยๆถูกพัดพา คืนย้อนไปทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกไปกดทับกระแสน้ำเย็นที่เคยลอยตัว ขึ้นพัดพาเอาแร่ธาตุอาหารที่ส่วนใหญ่เป็นตะกอนแร่ธาตุเถ้าภูเขาไฟใต้ท้อง ทะเลขึ้นมาสู่ปากอ่าวของชิลี เปรู ทำให้มีแพลงค์ตอนพืช แพลงค์ตอนสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตต่างๆทั้งกุ้ง หอย ปู ปลาและนกชนิดต่างๆอย่างมากมาย จนสร้างรายได้ในการส่งออกปลาไส้ตัน ปลากระตัก ปลาชิงชังอย่างมหาศาลให้แก่ประเทศชิลีเปรู

          เมื่อเหตุการเอลณิโญเกิดขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆของทั้งสองฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกก็อันตรธานหายไป ปรากฎการณ์เอลณิโญซึ่งเป็นภัยแล้งก็เกิดทางฝั่งออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย ทำให้สัตว์ตายจากการขาดทุ่งหญ้าแหล่งอาหารในการดำรงชีพ เกิดไฟป่าและควัน ในปี2541 นั้นควันไฟป่าจากอินโดนีเซียลุกลามมาถึงภาคใต้ของไทยเราจนเกิดความเสียหาย ต่อปาล์ม ยางพารา และผลหมากรากไม้อย่างเงาะ ลองกอง ทุเรียนเสียหายจากความเครียดของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลั่งสารเอทธิลีนออกมา ทำให้ต้นโทรมผลสุกและแก่เร็ว

          ส่วนทางฝั่งอเมริกาใต้ เอกวาดอร์ ชิลี เปรู เกิดปัญหาน้ำท่วม ดินไสลด์ โคลนถล่มหรือเรียกว่าลานินญา ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับเอลณิโญโดยสิ้นเชิง กระแสน้ำอุ่นที่ไหลย้อนกลับมากดทับกระแสน้ำเย็นส่งผลให้แร่ธาตุและสารอาหาร จากท้องทะเลไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ ปลา นก และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยระบบนิเวศน์จากอ่าวชิลีเปรูขาดแคลนอาหาร ล้มตายเป็นจำนวนมาก

          ความแห้งแล้งทางฝั่งทวีปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคเหนือตอนล่างภาคกลาง ภาคใต้ ก็ประสบปัญหาและความเดือดร้อนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การพึ่งพิงอิงอาศัยตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการทำสระน้ำประจำไร่นา สระน้ำแก้มลิง สระน้ำเอื้ออาทร ประมาณ 20-30%ของพื้นที่ทั้งหมดไว้กักเก็บน้ำฝน ซึ่งส่วนใหญ่จะตกใต้เขื่อน ทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนมีไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนและพี่ น้องเกษตรกร   ปีหนึ่งๆ น้ำฝนตกลงมามากถึง 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เขื่อนสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้เพียง 20-30% ฉะนั้นการทำสระน้ำประจำไร่นาของตนเองจึงเป็นเรื่องจำเป็น การใช้สารอุดบ่ออุดสระร่วมกับเบนโธไนท์หรือสเม็คไทต์ในการแก้ปัญหาบ่อรั่ว ซึมจึงน่าจะมีการปรับหรือประยุกต์ใช้ให้เกิดความแพร่หลายในพื้นที่เกษตรกรรม ทั่วทั้งประเทศ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=16117&Param2=17

ไม่มีความคิดเห็น: