วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปูนขาวใช้จับก๊าซจับกลิ่นของเสียจากแอมโมเนียในเล้าไก่คอกหมูไม่ได้




มี เกษตรกรหลายคนสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของการใช้กลุ่มวัสดุปูนที่นำมาใช้หว่าน จับกลิ่นเหม็นและก๊าซของเสียในคอกสัตว์ บางคนหนักข้อเข้าไปอีกคิดว่าการใช้กลุ่มวัสดุปูนหรือปูนขาวนั้นสามารถที่จะ ฆ่าเชื้อได้ ซึ่งเหตุผลอย่างหลังนี้ค่อนข้างที่ห่างไกลความเป็นจริงไปมากพอสมควร เพราะยังไม่มีรายงานวิจัยใดๆในประเทศไทยว่ากลุ่มวัสดูปูนนั้นจะฆ่าเชื้อโรค ได้
ที่ เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ากลุ่มวัสดุปูนที่มีองค์ประกอบหลักในกลุ่มของแคลเซียม จึงทำให้ความเป็นด่าง บริเวณที่เป็นด่างมากก็จะทำให้การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั้งชนิดดีและ ชนิดร้ายไม่สามารถจะจเริญเติบโตเป็นปรกติ พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตไม่ชอบลักษณะของสภาพแวด ล้อมที่เป็นด่างหรือกรดจัด อ๊ะๆไม่ใช่เขียนอย่างนี้แล้วท่านจะรีบไปเติมปูนในแปลงเรือกสวนไร่นากันนะ ครับ เพื่อหวังให้เชื้อโรคหลบหนีไปจากพื้นที่ เพราะถ้าทำเชีนนั้นพืชของท่านก็จะมีปัญหาไปด้วย เพราะความเหมาะสมของดินต่อการเจริญเติบโตของพืชจะต้องอยู่ที่ 5.8-6.3 คือเป็นกรดอ่อนๆ
การใช้กลุ่มวัสดุปูนไม่ว่าจะเป็นปูนมาร์ล(Ca[Co3])2, ปูนเผา(Cao), ปูนขาว (Ca[OH]2),โดโลไมท์ (CaMg[Co3]2)2,ฟอสเฟต(CA3[PO4]) ซึ่งมีองค์ประกอบของความเป็นด่าง เมื่อนำไปหว่านในคอกสัตว์เล้าไก่ที่มีกลิ่นก๊าซแอมโมเนียที่สัมผัสกับความ ชื้นที่พื้นคอกแล้วกลายเป็นด่าง (แอมโมเนียรวมตัวกับน้ำแตกตัวเป็นแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์เท่ากับด่าง) จะยิ่งทำให้กลิ่นก๊าซของเสียจากแอมโมเนียไนไตรท์และก๊าซไข่เน่า (ไฮโดเย่นซัลไฟด์) ยิ่งกระจายลอยฟุ้งขึ้นมามากขึ้นไปอีกทำให้ สุกร ไก่ แกะ แพะ โค กระบือ เกิดอาการระคายเคืองทางระบบทางเดินหายใจทำให้สัตว์เหล่านี้อาจจะมีปัญหาตาย ก่อนจับหรือระหว่างเลี้ยงได้มาก
คุณ สมชาย แซ่เล้า เจ้าของฟาร์มไก่เนื้อ ตำบลกลอนโด อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี (โทร. 081-274-2863) เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ 40,000 ตัว หลังจากเปลี่ยนการใช้ปูนที่ใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์มาเป็นหินแร่ภูเขาไฟดับ กลิ่น "ซีโอฟาร์ม" เพียงหว่านลงไปที่พื้นคอกในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1ตารางเมตร สามารถช่วยลดปัญหากลิ่นเหม็นไปได้นานกว่า 40วัน ไก่มีอาการดีขึ้นแบบผิดหูผิดตากินอาหารได้มากขึ้น เจริญเติบโตเร็ว อาการเครียด จิกตีกันจนหัวถลอกปอกเปิกไม่มี
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: