วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สังคมไทยกับเคมีเกษตร


20110613_PUMICE_New.jpg

เคมี เกษตรส่วนใหญ่ถูกคิดค้นมาเพื่อกำจัดโรคแมลงและวัชพืช เรียกรวมๆว่า“ยาฆ่าแมลง”เคมีเกษตรที่ใช้ในเรือกสวนไร่นาเกษตรกร โดยมากจะออกฤทธิ์ทำลายดูดซึมสัมผัสผิวหนัง การกิน หายใจฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้สามารถแพร่กระจายติดตามเสื้อผ้า ตกค้างในดิน แหล่งน้ำ รวมถึงในบ้าน มีเพียง 5% เท่านั้นที่ออกฤทธิ์กำจัดโรคแมลงได้จริงๆ และแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งในรัศมีตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 20 กิโลเมตร พอจะทำให้เห็นภาพคร่าวๆ ถึงอันตรายของสารเคมีปราบศัตรูพืช และส่งผลให้สารพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม ในระบบนิเวศน์ ผู้เขียนคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรทุกคนต้องเปิดใจรับฟังแล้วหันมาดูแลตัว เอง ดูแลระบบนิเวศน์ก่อนที่จะเสียหายเกินการควบคุม

คนเราจะปลูกพืช สักต้นหรือทำนาสักแปลง ควรมองว่าดินตรงนั้นดีไหม มีน้ำพอใช้ทั้งฤดูหรือเปล่า ซึ่งจะสอดคล้องกับคำที่ว่า "หากดินดี น้ำดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว" แต่ถ้าหากไม่ดีล่ะจะแก้อย่างไรดี? ปรับปรุงบำรุงดินใช่หรือเปล่า? แล้วจะใช้วัสดุอะไรมาปรับปรุง? ต้นทุนแพงไหม คุ้มค่ากับการลงทุนหรือเปล่า? เกษตรกรบางท่านอาจเลือกปรับปรุงบำรุงดินก่อน และนั้นเพราะเขาคิดว่า “พืชจะเจริญเติบโตได้ดีต้องปลูกบนดินที่ดี และดินที่ดีต้องมีชีวิต” ซึ่งนั้นหมายถึง “ในดินต้องมีจุลินทรีย์ มีธาตุอาหาร ร่วนซุยออกซิเจนผ่านเข้าออกได้”

วัสดุที่เลือกมาปรับ ปรุงดินก็ต้องเหมาะสม เห็นผลระยะยาวยั่งยืน ไม่ใช่แค่ผ่านไปวันๆ หินภูเขาไฟก็ทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาบำรุงดินแทนวัตถุปูน เพราะแร่ภูเขาไฟสามารถช่วยให้ดินดีมีชีวิตร่วนซุยที่สำคัญช่วยปรับกรด-ด่าง ของดินทำให้ปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดี หน้าดินไม่บีบตัวอัดแน่นจนทำให้รากพืชขาดออกซิเจน เหมือนปรับสภาพด้วยวัตถุปูนซึ่งเป็นปัญหาที่ตามมาภายหลัง นอกจากหินภูเขาไฟจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินแล้ว ยังช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้เซลล์พืช เนื่องจากในหินภูเขาไฟมีส่วนประกอบของซิลิก้าที่ละลายน้ำให้พืชดูดซับไปใช้ ประโยชน์ได้ทันที และด้วยความที่เป็นรูพรุนแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าได้(CEC) สามารถช่วยให้ปุ๋ยบางชนิดละลายช้าลงได้โดยเฉพาะปุ๋ยที่ส่วนประกอบของ ไนโตรเจนอย่างยูเรีย (46-0-0) ช่วยให้ลดต้นทุนจากการสูญเสียปุ๋ยได้อีกทางหนึ่ง เกษตรกรหรือหน่วยงานใดต้องการสอบถามแลกเปลี่ยนหรือสนับสนุ่นข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน (081-3983128)

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
เสนอติชมเพิ่มเติมได้ที่ email: thaigreenagro@gmail.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=16150&Param2=18

ไม่มีความคิดเห็น: