วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

ถ้าพีเอชของดินถึง 6.3 แล้ว....ให้หยุดการใส่ปูน

ดินนั้นถือเป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยพื้นที่สำคัญในการปลูกพืช และจะต้องเป็นดินที่มีองค์ประกอบของแร่ธาตุต่างๆ อยู่ 45 เปอร์เซ็นต์ อินทรียวัตถุ 5 เปอร์เซ็นต์ อากาศ 25 เปอร์เซ็นต์ และ น้ำ 25 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นดินที่ดีเยี่ยม ไม่จำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ย เคมี ใดๆทั้งสิ้น ก็สามารถทำให้พืชเจริญเติบโตได้เป็นปกติ ครบถ้วนสมบูรณ์ และบางครั้งสามารถช่วยทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานแมลง เพลี้ย หนอน รา ไร ได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เนื่องด้วยพืชจะสามารถนำแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ นำไปสังเคราะห์ฮอร์โมนที่จำเป็นในการป้องกันตนเองได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ เหมือนต้นไม้ในผืนป่าที่ไม่ต้องมีใครไปรดน้ำใส่ปุ๋ย ก็สามารถที่จะทำให้พืชเหล่านี้มีอายุยืนยาวได้อย่างยั่งยืน
ชุดตรวจสอบความเป็นกรด-ด่างของดิน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามดินที่มีองค์ประกอบตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น จะไม่สามารถแสดงพลังออกมาได้เต็มที่ก็เนื่องด้วยมีปัจจัยลบอยู่ประการหนึ่ง นั่นก็คือค่าความเป็นกรดและด่างของดิน ซึ่งถึงดินจะมีองค์ประกอบที่ครับถ้วนสมบูรณ์อย่างไร แต่ถ้าดินเป็นกรดจัด หรือด่างจัด แร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ในดินเหล่านั้น ก็จะถูกจับตรึงยึดไว้ในเนื้อดิน ไม่สามารถที่จะทำละลายและปลดปล่อยออกมาให้เป็นประโยชน์ต่อตัวของพืชได้ และในบางครั้งอาจจะกระตุ้นให้จุลธาตุต่างๆ ละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษทำลายพืชได้ด้วยเช่นกัน บางครั้งมากจนถึงทำให้ใบพืชไหม้เกรียมจากการแพ้สารเหล่านั้น
ค่าพีเอชของดินที่ถือว่าเหมาะสมมากที่สุดต่อการละลายแร่ธาตุสารอหารในดินควรอยู่ที่ระหว่าง 5.86.3 ไม่ควรน้อยหรือต่ำกว่านี้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดผลเสียดังที่ได้กล่าวมา ฉะนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อดินที่มีค่าพีเอชอยู่ที่ 6.3 อยู่แล้ว ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปซื้อหาปูนนำมาใส่เสริมเพิ่มเติมลงไป เพียงหวังแต่ธาตุอาหารแคลเซียม ฟอสฟอรัส หรือแมกนีเซียม เพียงเท่านั้น แต่ลืมคำนึงไปว่า เมื่อได้แร่ธาตุสารอาหารตามที่ต้องการแล้ว จะได้รับค่าความเป็นด่างของกลุ่มวัสดุปูนเหล่านี้ติดตามมาด้วย จึงทำให้เกิดผลเสียในระยะยาวที่จะต้องหาซื้อวัสดุปรับปรุงบำรุงดินมาปรับ แก้ไขให้ค่าความเป็นด่างเหล่านั้นลดน้อยถอยลงมา เป็นการแก้ไขที่เสียค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน อีกทั้งต้องใช้ระยะเวลานาน ในกรณีที่ดินมีค่าพีเอชที่เหมาะสมแล้วควรใช้หินแร่ภูเขาไฟเข้ามาทำการแก้ไข ปรับปรุงบำรุงดินที่เสื่อมโทรมขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์จะดีกว่า อย่างน้อยก็มีแร่ธาตุสารอาหารที่มากกว่าและไม่มีด่างมาสะสมเหมือนกลุ่มของ วัสดุปูน

คุณมนตรี   บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: