วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

น้ำเน่า กุ้งลอยหัว ปลาตาย ไม่โตไม่กินอาหาร

ผู้เลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่มักมีปัญหาน้ำในบ่อเน่าเสีย ออกซิเจนในน้ำลดลง ไม่เพียงพอต่อการหายใจ ทำให้ปลาและกุ้งตายยกบ่อได้ง่ายๆ ภายในเวลาไม่กี่วัน น้ำเน่าในบ่อเสีย 95% มาจากการเศษอาหารที่ตกค้าง บวกกับมูลถ่ายออกมา แม้ว่าจะเป็นแค่บางส่วนที่ตกค้างแต่ก็ส่งผลให้เกิดการเน่าเสียได้ ยิ่งปล่อยปลายปล่อยกุ้งหนาแน่นเท่าไรยิ่งก่อให้เกิดง่ายเท่านั้น ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่แก้ปัญหาโดยใช้เคมี ทำให้สารพิษตกค้างบนพื้นบ่อมีผลต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ยิ่งผู้ที่เลี้ยงเป็นอาชีพ เลี้ยงเชิงพาณิชย์ในบริเวณบ้าน อย่างปลาคราฟ ปลาสวยงาม โอกาสน้ำเน่าเสียเกิดขึ้นตลอดเวลา ต้องคอยเติมออกซิเจน ถ่ายเทน้ำ เพื่อให้ปลามีสุขภาพที่ดี การเก็บน้ำเน่าเสียไว้นานๆ ส่งผลให้ปลาติดเชื้อยกบ่อได้
ยิ่งเป็นกุ้งแล้วปัญหาที่พบเจอยิ่งมากกว่าปลาหลายเท่าตัว เนื่องจากการกุ้งจะอ่อนแอ อ่อนไหว ตายง่ายกว่าปลา ปัญหาเพียงเล็กๆน้อยๆกุ้งทำให้ตายได้ สังเกตได้จากช่วงหลังๆ เกษตรกรจะนิยมเลี้ยงกุ้งขาวเพราะปัญหาน้อยกว่ากุ้งดำ เพราะกุ้งดำเลี้ยงผิด ตัดสินใจผิดมีโอกาสเจ้งได้ง่ายๆเนื่องจากการลงทุนสูง ที่ผู้เขียนสัมผัสปัญหาที่เจอส่วนใหญ่มาจากน้ำเน่าเสียเหมือนๆกับปลา แต่ปลาจะทนทานกว่ากุ้ง ดังนั้นถ้าน้ำเน่าเสียต้องแก้ไขให้รวดเร็วไม่เช่นนั้นกุ้งลอยหัวตายยกบ่อ ที่มาของน้ำเน่าเสียไม่ต่างกัน 95% มาจกอาหารที่ตกค้างในบ่อ
ปัญหาน้ำเน่าเสียในบ่อสร้างความหนักใจให้แก่ผู้เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาไม่น้อย บางบ่อบางฟาร์มถึงขั้นเจ้งไปเลยก็มี การนำจุลินทรีย์บาซิลลัส MT มา ย่อยเศษอาหาร ขี้กุ้ง ขี้ปลาบนพื้นบ่อสลับกับการหว่านไคลน็อพติโลไลท์ จับแอมโมเนีย ร่วมกับการตีน้ำให้ออกซิเจน เนื่องจากน้ำที่เน่าเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งบ่อเลี้ยงปลาเกิดจากจุลินทรีย์ภายใน บ่อย่อยสลายไม่สมบูรณ์จึงก่อให้เกิดของเสียเน่าเสียขึ้น 
ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดก็คือนำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าไป ย่อยสลายแทนที่เพื่อให้ของเสียต่างๆ ถูกย่อยสลายโดยสมบูรณ์ ดังนั้นน้ำที่เสียอยู่ก็จะกลับกลายเป็นน้ำดี มีออกซิเจนสูงตามปกติ ทำให้สุขภาพปลากุ้งที่เลี้ยงดีขึ้น เจริญเติบโตเร็ว ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารเคมีตกค้างในตัวสัตว์ พื้นบ่อ ผู้บริโภคปลากุ้งก็ปลอดภัยไปด้วยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน (081-3983128)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: