วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

อากาศหนาว เข้าทำลายลำไยที่ จังหวัดกำแพงเพชร

หย่อมความกดอากาศสูงที่แผ่ซ่านมาจากประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเรานั้นมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม เมียนมาร์ บางพื้นที่ถึงกับมีหิมะตก จนเกิดคำถามกับประชาชนคนไทยที่ส่งข้อความถามผู้ดำเนินรายการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ว่า ประเทศไทยจะมีโอกาสที่หิมะจะตกได้หรือไม่ ซึ่งก็ได้มีนักวิชาการได้ออกมาตอบไขข้อข้องใจไปพอสมควรแล้วนะครับ ระนาบของพื้นที่ความสูงของบ้านเรานั้นในขณะนี้คงจะได้ชมเพียงแค่แม่คะนิ้ง, เหมยขาบ หรือน้ำค้างแข็งไปก่อน ต่อไปถ้าระบบนิเวศน์หรือธรรมชาติถูกทำลายไปมากๆ ทั้ง แม่น้ำ อากาศ แผ่นดิน และก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ก็ไม่แน่ว่า เราอาจจะได้ชมหิมะกันทั่วทั้งประเทศครับ (แต่ผู้เขียนคงไม่ต้องการเช่นนั้นนะครับ)
อากาศที่หนาวเย็นนี้ส่งผลกระทบไปยังพี่น้องเกษตรกรที่ปลูกลำไย โดยส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นลำไย ซึ่งปลูกนอกฤดูกาล โดยผลโตช้า เปลือกแห้งและแตกได้รับความเสียหาย และยังได้รับผลกระทบจากศัตรูพืช รวมถึงค้างคาวที่มาเกาะกินผลลำไย
นายพรสวรรค์ สาวะภา อายุ 45 ปี เจ้าของสวนลำไย บ้านคลองไพร หมู่ 4 ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร กล่าวว่า ปลูกลำไยในพื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งออกผลผลิตเต็มที่ เตรียมเก็บส่งขายได้แล้ว แต่มาประสบปัญหาภัยหนาว ทำให้ผลเปลือกแห้งแตกเสียหายประมาณ 60% คิดเป็นเงินประมาณ 600,000 บาท จึงต้องจ้างคนงานเร่งเก็บผลลำไย ส่งขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง ถ้าล่าช้าจะเสียหายหมดทั้งสวน
เช่นเดียวกับนายสมคิด สายวงศ์นวล อายุ 53 ปี ระบุว่า สวนลำไยได้รับความเดือดร้อนจากภัยหนาวเช่นกัน แต่ไม่มากนัก แต่มีศัตรูพืช และค้างคาว มากัดกินผลลำไยได้รับความเสียหาย จึงต้องใช้ตาข่ายดักจับ ได้ค้างคาววันละไม่ต่ำกว่า 10 ตัว โดยที่มีชีวิตจะแกะออกและปล่อยไป ส่วนตัวที่ตาย จะเก็บไปประกอบอาหารรับประทาน. (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2556)
จากสาเหตุดังกล่าวนี้พี่น้องเกษตรกรสามารถที่จะดูแลแก้ไขปัญหาได้ด้วยการเพิ่มม้อยเจอร์ไรเซอร์ให้พืช โดยใช้ ไบโอฟิล์มซึ่งเป็นกลุ่มของไคโตซานชนิดสายโซ่ยาว จะมีคุณสมบัติที่เคลือบผิวให้ความนุ่มชื้นแก่ผิวเปลือกของผลลำไย และเซลล์ของใบ ที่ถูกลมหอบเอาความชุ่มชื้นไปกับสายลม จึงทำให้ผลนั้นตกแตกได้ง่าย อีกทั้งการใช้ สมุนไพรไล่และป้องกันการวางไข่ของแมลง ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงรูปรสกลิ่นของพืช ทำให้มีรสชาติที่ฝาดเฝื่อน ก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องค้างคาวกัดกินทำลายผลได้เช่นกัน สามารถนำหลักและวิธีการดังกล่าวนี้ไปใช้กับพืชที่ประสบปัญหาคล้ายๆ กันด้วยก็ได้นะครับ

คุณมนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: