วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

ปรับสภาพดินแข็งในนาข้าวด้วยหินแร่ภูเขาไฟปรับปรุงบำรุงดิน”พูมิชซัลเฟอร์”


อาชีพเกษตรกรรมจัดว่าเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ต้องอาศัยปัจจัยในหลายๆ ด้าน เช่น ดิน น้ำ อากาศ  และปัจจัยที่สำคัญมากในการทำเกษตรกรรม คือดิน ดินดีก็หมายถึงมีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ส่วนมากมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับดินกันเป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่น ดินเป็น กรด เป็นด่าง ดินเค็มมีสนิม ดินเหนียวแข็ง สิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเป็นปัญหาให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก ดั่งเช่น คุณสำรวย พร้อมสุข เลขที่ 190 ม.7 ต.แสนสุข อ.วารินทร์ชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 ทำนาปี ปลูกข้าว หอมมะลิ ข้าวเหนียว ประมาณ 20 ไร่ ก่อนที่จะมาใช้พูมิชซัลเฟอร์ก็ใช้ปุ๋ยเคมีทั่วไปตามที่เกษตรกรส่วยใหญ่ใช้กัน ในช่วงนั้นที่ยังไม่ได้ใช้พูมิชซัลเฟอร์รู้สึกว่าดินแข็งและเหนียวมากน้ำไหลผ่านได้ยาก เพราะในเขตภาคอีสานในช่วงหน้าแล้งก็แล้งมาก มักจะเจอปัญหาเรื่องน้ำ ทำให้ไม่มีน้ำทำการเกษตรและทำให้ดินแข็ง ส่งผลทำให้ต้นข้าวไม่โต ต้นไม่อวบ ถอนต้นกล้ายาก ทำให้รากขาด รากไม่ยาว ได้ผลผลิตไม่เต็มที่เท่าที่ควร จึงคิดค้นหาวิธีเข้ามาแก้ไขปัญหา เพื่อจะให้ได้ผลผลิตมากกว่านี้ เลยได้มีโอกาสเข้ามารู้จักผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งของ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เป็นผลิตภัณฑ์จำพวกแร่ธาตุภูเขาไฟ

พูมิชซัลเฟอร์ช่วยบำรุงดินปรับสภาพดินให้ดินที่เหนียวแข็งจัดกลายเป็นดินร่วยซุย น้ำซึมผ่านดินได้ง่าย ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ต้นพืชทนทานต่อโรค แมลง และก็ได้นำพูมิชซัลเฟอร์มาใช้ผสมกับปุ๋ยคอก เนื่องจากปุ๋ยคอกหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง ก็นำปุ๋ยคอกมาผสมกับพูมิชซัลเฟอร์หว่านโรยให้ทั่วปุ๋ยคอก ผสมให้เข้ากัน แล้วตักปุ๋ยคอกที่ผสมพูมิชซัลเฟอร์แล้วใส่กระสอบปุ๋ยเก็บไว้ใช้หว่านรองพื้นในนา  ต่อมาหว่านอีกครั้งตอนข้าวอายุ 10 วัน ก็ดูแล้วข้าวโตเร็ว เขียวดี ก็ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ผลที่ได้รับ เห็นได้ชัดเจนเลย ดินดีขึ้น จากดินที่เคยแข็งเหนียวจัด ก็เป็นดินที่ร่วนซุย สังเกตจาก ข้าว 1 เมล็ด แตกกอได้ต้นข้าวหลายต้น ต้นใหญ่ ถอนต้นกล้าได้ง่าย ต้นข้าวรากยาวเป็นฝอย มีสีเขียวสม่ำเสมอ เป็นที่น่าประทับใจมาก คาดการว่าผลผลิตในปีนี้น่าจะดีกว่าทุกปีเพราะดูจากสภาพต้นข้าวที่สมบูรณ์
หากท่านสมาชิกท่านอื่นๆสนใจนำเทคนิคการปรับสภาพดินแบบคุณสำรวย พร้อมสุข ไปปรับใช้กับพื้นที่ทำการเกษตรของตัวท่านเองดูนะครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 9 มกราคม 2557 แนะนำติชมได้ที่ email:thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: