วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พิษ เออีซี สินค้าเกษตรไทยต้องปรับตัว

AEC อาจทำให้สินค้าเกษตรไทยอย่างน้อย 10 รายการ ที่อาจไปไม่รอดถ้าเกษตรกรยังไม่ปรับตัว นำเอาเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนการผลิต บริหารจัดการใหม่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ส่งเสริมวิจัย พัฒนาสายพันธุ์ คุณภาพสินค้าเกษตร ตลอดจนความปลอดภัย ยิ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของอาเซียนหรือของโลกยิ่งต้องปรับตัวมาก โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนการเกษตรให้มากขึ้น เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สินค้า เกษตรที่ไทยอาจจะได้รับผลกระทบและต้องรีบปรับตัวเป็นการด่วน เนื่องจากมิตรประเทศก็มีศักยภาพในการผลิตไม่แพ้กัน ยกตัวอย่าง ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ยางพารา กาแฟ ผลไม้ ปศุสัตว์ และประมง โดยเฉพาะข้าวเพราะเป็นผู้ผลิตส่งออกมากที่สุด เพื่อให้เป็นศูนย์กลางข้าวของอาเซียนเราควรจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการ เรื่องข้าว โดยให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่าง สมาคมผู้ผลิตข้าวเปลือก สมาคมโรงสี และสมาคมผู้ค้าข้าวเปลือกและข้าวสาร เข้ามาร่วมพูดคุยหาข้อสรุป ไม่เช่นนั้นเราอาจเสียแชมป์ให้เพื่อนบ้านอย่างพม่าและเวียดนามก็เป็นได้

ตลาดยางพาราที่มีปัญหาราคาตกต่ำอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากอดีตไทยเราพึ่งพาจีนเป็นตลาดหลักในการส่งออกไม่ยอมขยายตลาดเพิ่ม เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา ไม่พัฒนาสานต่อนโยบายจากรัฐบาลหนึ่งไปรัฐบาลหนึ่ง ราชการระส่ำระสายไม่เป็นตัวของตัวเอง คอยเป็นไม้เลื้อยเกาะตรงโน้นทีตรงนี้ที ต้องการติด 1ใน 5 ผู้ส่งออกยางพารา อันดับแรกต้องรักษาฐานตลาดเดิมอย่าง ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(อียู) สองขยายตลาดใหม่เพิ่มโดยเฉพาะกลุ่มประเทศในแอฟริกาและตะวันออกกลาง สามรัฐบาลต้องประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักธุรกิจทั้งในและนอกประเทศเข้ามาลงทุนแปรรูปยาง ซึ่งภาครัฐอาจจะต้องแก้ไขกฎระเบียบต่างๆที่เป็นอุปสรรคไม่เอื้อต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมยางพาราบ้างตามสมควรให้ตลาดยางพาราเดินต่อไปได้ ผู้เขียนในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการเห็นเศรษฐกิจของประเทศเดินต่อไป เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง ไม่เป็นหนี้เป็นสิน

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: