วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มาตรฐานสินค้าเกษตร ทางรอดของส่งออกจริงหรือ?

เมื่อไรที่สินค้าเกษตรไทยสร้างมาตรฐานให้ตนเองได้ เมื่อนั้นปัญหาส่งออกก็จะลดลง ซึ่งปัจจุบันตลาดส่งออกหลักๆของไทยในโซนอาเซียน ก็คงหนีไม่พ้นอินโดนีเซีย กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้เป็นที่ยอมรับของสากล สร้างความเท่าเทียมลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน โดยเฉพาะมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ผลิตจากพืช สัตว์และประมง รองรับมาตรฐาน AEC ให้เกิดความชัดเจนภายใต้มาตรการหรือแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้จริง ที่สำคัญตลาดเดินได้เกษตรกรอยู่รอดไม่เป็นหนี้เป็นสิน
ทำเกษตรไม่เน้นตลาด อยู่รอดจริงหรือ? ผู้เขียนคิดว่าอาจใช้ได้กับเกษตรกรรายใหม่ที่จะผันตัวเองมาเป็นทำเกษตรไม่ว่าเกษตรเคมีหรือเกษตรอินทรีย์ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ปลูกแล้วขายใคร ขายที่ไหน ตลาดไม่มีเกิดการเบื่อหน่ายเลิกแล้วทำไปเสียดื้อๆ จากนั้นก็หันกลับไปเป็นลูกจ้างอย่างเดิม หากจะปฏิรูปเกษตรไม่ควรเน้นให้เกษตรกรอิงผลทางการตลาดมากเกินไป ให้เน้นอยู่รอดพึ่งพาตนเองได้ก่อน แล้วค่อยคิดขายทำกำไร แบบนี้ได้ผลระยะยาวกว่า เพราะหากผลผลิตมีคุณภาพมีมาตรฐานยังไงตลาดก็เข้ามาหาเราเอง ไม่ต้องวุ่นวายหาตลาดให้เสียเหงื่อ
ความฝันของเกษตรกรทุกคน มักมองที่ว่าปลูกอะไรแล้วต้องมีตลาดรองรับ แต่ความฝันกับความเป็นจริงมักแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในความเป็นจริงเกษตรกรส่วนใหญ่เน้นการตลาดมากกว่าจะผลิตให้มีคุณภาพ ถึงแม้จะล้นตลาดแต่ก็รั้นจะปลูกเพราะมีตลาดรองรับแน่นอน บ่อยครั้งที่ปลูกแล้วไปไม่รอดขายไม่ได้ราคา  สุดท้ายก็ทิ้งร้างหันกลับไปใช้แรงงานอย่างเก่า ทางที่ดีเกษตรกรควรมีความรู้ก่อนลงมือทำ ทำอย่างไรจะได้ราคาและมีคุณภาพ ไม่เป็นสินค้าเหลือคัดออกนอกตลาด
ทางรอดที่ดีสุดให้เกษตรกรควรพึ่งพาตนเอง ควรสร้างความมั่นคงจากภายในก่อนส่งขายทำกำไรนอกประเทศ ดูได้จากบทเรียน ตอน...โครงการรับจำนำข้าว จากเจ้าของโรงสีชุมชนค้าปลีกแต่ริอยากเป็นเจ้าของตลาดค้าส่งข้าวระดับโลก ทั้งๆที่อำนาจว่าราคาไม่มีเลย ถามหน่อยเถอะครับสุดท้ายใครเจ็บ? ..................สอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูลติดต่อได้ที่ 081-3983128 (ผู้เขียน)

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: