วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คะน้า” กับแนวทางป้องกันหนอนแบบปลอดสารพิษ

คะน้าเป็นผักที่คนไทย นิยมรับประทานกันเป็นลำดับต้นๆก็ว่าได้ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด อาทิเช่น ผัดคะน้าหมูกรอบ คะน้าน้ำมันหอย ข้าวขาหมูก็ต้องมีคะน้าเป็นเครื่องเคียง ราดหน้า ผัดซีอิ้ว ก๋วยเตี๋ยว ก็ต้องใส่คะน้า ทำให้ผักคะน้าเป็นพืชผักที่ตลาดมีความต้องการ ราคาค่อนข้างดีตลอดทั้งปี คะน้าสามารถปลูกได้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย อายุการเก็บเกี่ยวก็แค่ 45-55 วัน ก็สามารถตัดขายได้แล้ว จะมีปัญหาก็ตรงที่แมลงศัตรูคะน้า จำพวกหนอนต่างๆเช่น หนอนคืบ หนอนหนังเหนียว ที่ถือว่าเป็นปัญหาลำดับต้นๆของเกษตรกรที่ปลูกคะน้าเลยก็ว่าได้ ถ้าไปถามเกษตรกรที่ปลูกคะน้าว่าปลูกคะน้ามีปัญหาเรื่องอะไรมากที่สุด ท่านจะได้คำตอบที่เหมือนกันว่าเรื่องหนอน ซึ่งปัญหาเรื่องหนอนถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่เพราะมีผลต่อผลผลิตและราคาขายของคะน้า ถ้าคะน้าแปลงไหนที่มีหนอนกัดกินที่ใบเสียหายเยอะตลาดจะไม่รับซื้อ แต่จะซื้อเป็นคะน้าตกเกรดแทน ทำให้สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ไป ในการป้องกันกำจัดหนอนคะน้าเกษตรกรไทยจะใช้เกือบ 100% เลือกวิธีการใช้สารเคมีในการกำจัดหนอน ซึ่งการใช้สารเคมีในการกำจัดหนอนคะน้าทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาอีกมากมาย เช่น ทำให้หนอนเกิดการดื้อยา ต้องเปลี่ยนยาเคมีที่ใช้กำจัดหนอนอยู่บ่อยๆ เพื่อไม่ให้หนอนเกิดอาการดื้อยาได้ วิธีนี้ทำแล้วได้ผลในช่วงแรกๆเท่านั้นเพราะหลังๆหนอนคะน้ายิ่งทวีความรุนแรงในการเข้าทำลายกัดกินคะน้า ทำให้เกษตรกรที่ปลูกคะน้าตอนนี้ประสบกับปัญหาเรื่องหนอน ต้องหมดเงินลงทุนไปกับค่ายาฆ่าหนอนค่อนข้างมาก

ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเลยอยากแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดหนอนคะน้า ตามแนวทางของชมรมเกษตรปลอดสารพิษโดยใช้วิธีชีวภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลค่อนข้างดีมีเกษตรกรตัวอย่างที่ใช้อยู่ประจำ ไม่ใช่วิธีที่แนะนำให้นำไปทดลองแล้วไม่รับลองผล วิธีแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราจะไม่เน้นไปที่การป้องกันกำจัดหนอนเพียงอย่างเดียวเพราะถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ต้องป้องกันตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดหนอนคือตัวผีเสื้อกลางคืนหรือที่ชาวสวนคะน้าเรียกกันติดปากว่า กะเจ๊า ที่คอยมาวางไข่ในแปลงคะน้าช่วงเวลากลางคืน วิธีป้องกันกำจัดหนอนคะน้าของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จะใช้ ทริปโตฝาจ(จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยหนอน) บีทีชีวภาพ(จุลินทรีย์กำจัดหนอน) โทแบคโค(สารสกัดใบยาสูบ) แพล้นท์เซฟMT (สารสกัดหางไหลหนอนตายอยาก) ฉีดพ่นร่วมกันในทีเดียว โดยหลักการทำงาน ตัวจุลินทรีย์ทั้ง 2 ตัว(ทริปโตฝาจกับบีที)จะคอยป้องกันกำจัดหนอน ส่วนสารสกัดสมุนไพร 2 ตัว(โทแบคโคกับแพล้นท์เซฟMT) จะคอยส่งกลิ่นเหม็นไม่ให้ผีเสื้อกลางคืนเข้ามาในแปลงคะน้าและยังไปเคลือบใบคะน้าให้มีรถขม ทำให้หนอนที่กัดกินใบคะน้าให้กินไม่อร่อย กินแล้วมีรสขม ทำให้ไม่อยากกิน เป็นการลดการเข้าทำลายได้อีกทางหนึ่งด้วย
ขั้นตอนวิธีการป้องกันกำจัดหนอนคะน้าด้วยวิธีชีวภาพนี้มีสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ปลูกคะน้าแล้วใช้วิธีดังกล่าวแล้วได้ผลค่อนข้างดี เอาหนอนคะน้าอยู่หมัด หลายพื้นที่ เช่นพื้นที่ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ก็มีคนที่ใช้วิธีนี้อยู่หลายราย ทางจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรีก็มีหลายรายเช่นกัน ข้อดีของการใช้วิธีปลอดสารพิษคือ ต้นทุนที่ถูกกว่าการใช้สารเคมีจากที่เคยปลูกแบบใช้ยาเคมีในการกำจัดหนอน ต้นทุนเป็นแสนบาท แต่ถ้าใช้วิธีแบบปลอดสารพิษต้นทุนไม่ถึงหมื่นเมื่อเทียบกันพื้นที่ต่อพื้นที่
เกษตรกรที่ปลูกคะน้าอยู่ในเวลานี้ก็ลองนำวิธีของชมรมเกษตรปลอดสารพิษไปทดลองดูนะครับ จะได้ทดต้นทุนการปลูกคะน้าอีกทางหนึ่ง ยิ่งราคาสินค้าเกษตรช่วงนี้ตกลงแล้วละก็ เราน่าจะหันมาลดต้นทุนการผลิตกันได้แล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นายจตุโชค จันทรภูมี(ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือจะสอบถามไปที่เบอร์ HOTLINE ของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เบอร์ 084-5554205 , 084-5554206,084-5554207,084-5554208 ก็ได้นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: