วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เกษตร ดินดี

กาลที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญ แล้วทำให้มนุษย์คิดค้นสารเคมีขึ้นมามากมายใช่ว่าจะดีสักเท่าไดนัก เพียงหวังแค่ว่าช่วยเพิ่มผลผลิตให้พอต่อความต้องการ จนมองไม่เห็นถึงผลที่จะกระทบ การทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ โดยให้เลี่ยงสารเคมี รวมถึงลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงศัตรูพืช แล้วอาศัยบริหารจัดการดิน เข้าใจเข้าถึงและเห็นความสำคัญของจุลินทรีย์ในดิน แค่ทุกคนช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตเล็กๆให้คอยรักษารักษาระบบนิเวศ แค่นี้พืชก็สามารถเจริญเติบโตได้แล้วละครับ

การทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ โดยอาศัยวิธี ลด ละ เลี่ยงและค่อยๆเลิกใช้สารเคมีหรือวัตถุดิบที่ใช้แล้วตกค้าง มีผลต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกสู่วิถีเกษตรอินทรีย์โดยที่เกษตรกรไม่ต้องสูญเสียรายได้ ซ้ำยังช่วยลดต้นทุนการผลิตไม่ว่าเรื่องปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลง ใช้ธรรมชาติควบคุมธรรมชาติกันเอง อาจเติมบ้างเล็กๆน้อยๆให้เกิดภูมิคุ้มกัน อย่างเช่น เติมซิลิซิคเพิ่มความแข็งลดการเข้าทำลายของแมลง เติมไตรโคเดอร์ม่าลงดินเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อรา ฯลฯ
การปรับ pH ของดินก็อีกอย่างที่ไม่ควรทิ้งความสำคัญ ดินจะดีแค่ไหน? มีอินทรีย์มากเท่าไร? ถ้า pH ของดินไม่เหมาะสมธาตุอาหารที่ได้ก็ไม่ครบ พืชก็ไม่โต แคระๆแกร็นๆไม่สมส่วน บางท่านทนดูไม่ได้ฉีดพ่นยาใส่ปุ๋ยเพิ่ม ซ้ำหนัก...ยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไปอีก แทนที่จะลดกลับเพิ่มต้นทุนหนักไปกว่าเก่า ก่อนลงมือปลูกควรรู้ว่าดิน pH เท่าไร? เป็นกรดหรือเป็นด่าง จะได้ปรับสภาพให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่เสียเวลาเสียเงินทองโดยที่มองไม่เห็นอะไรเลย
เมื่อทราบ pH ของดินแล้วว่าเป็นกรดหรือเป็นด่าง ต่อไปต้องรู้ว่าปรับอย่างไรถึงจะเหมาะสมต่อพืช หากเป็นแนวทางของชมรมฯ pH ที่ต่ำกว่า 5.8 ก็จะให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟต(สีเหลือง)ไร่ละ 20 กก. แต่ถ้าเป็นกรดค่อนข้างรุนแรงคือ pH ต่ำกว่า 4 ให้ใช้หินฟอสเฟต โดโลไมท์หรือปูนมาร์ลแทน พื้นที่ไหน pH สูงกว่า 6.3 แต่ไม่เกิน 7.5 ให้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ไร่ละ 20 กก. ส่วนบริเวณใด pH สูงกว่า 7.5 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟต(สีแดง)แทน วิธีข้างต้นจะช่วยให้พืชตอบสนองต่อธาตุอาหารในดินได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยเรื่องยาหรือแม้แต่ฮอร์โมนพืชได้อย่างสบายๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน (081-6929660)

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: