วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์ตลาดสัตว์ปีกของไทยในภาวะการเมืองล้มเหลว

จากการที่ประเทศไทยเราต้องการที่จะเป็นผู้นำด้านปศุสัตว์ในอาเซียน เนื่องด้วยความสามารถทางด้านการส่งออกเกี่ยวกับปศุสัตว์นั้นสร้างรายได้ให้แก่ประเทศของเราสูงถึงปีละ 200,000 ล้านบาท มีศักยภาพในการผลิตสุกรปีละ 16 ล้านตัน กุ้งปีละ 300,000 ตัน, ไก่ 20 ล้านตัว, สุนัข 7ล้านตัวแมว 1 ล้านตัว โดยเฉพาะไก่และกุ้งนั้นต้องถือว่าเป็นพระเอกหรือเป็นผู้นำที่โดดเด่นอยู่ตลอดเวลาในเรื่องของการส่งออก
อย่างไร ก็ตามการที่จะเป็นผู้นำอาเซียนได้นั้น จะต้องเน้นที่ภาคส่วนระดับปฏิบัติงานให้มีรูปแบบการทำงานที่มีคุณภาพและเน้น พันธุ์สัตว์ที่มีศักยภาพควบคู่ไปด้วย ไม่เว้นแต่เบื้องหลังการทำให้สัตว์เจริญเติบโตอย่างอาหารสัตว์ที่ใช้ภายใน ประเทศหรือการส่งออกจะต้องเน้นวัตถุดิบที่นำมาผลิตจะต้องปลอดภัยไร้สารพิษ ต้นทุนต่ำมีราคาไม่สูงหรือขูดรีดเกษตรกรผู้เลี้ยงมากจนเกินไป
โดยเราลองไปดูวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์กันดู นั่นก็คือถั่วเหลือง ซึ่งปัจจุบันนั้นผู้ผลิตรายใหญ่ในกลุ่มอาเซียนของเราก็คือประเทศกัมพูชา ถือว่าเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในเรื่องของการส่งออกถั่วเหลืองอยู่ในขณะนี้ เนื่องด้วยรัฐบาลของกัมพูชามีการรณรงค์ให้เกษตรกรผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งพื้นที่ที่ปลูกกันมากอยู่ในพื้นที่แขวงกำปงจาม พระตะบองและกำปงธม การผลิตส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมแบบชาวบ้าน ใช้บริโภคกันเองภายในประเทศเพียง 20% และส่งออกสูงถึง 80% ซึ่งผู้ซื้อก็ใช่ใครที่ไหนอื่นไกลเป็นประเทศไทยและเวียดนามนี่เอง โดยเกรดพรีเมี่ยมชั่นหนึ่งจะสางไปเวียดนามเสียเป็นส่วนใหญ่ในราคา 600-800 เหรียญสหรัฐต่อตันหรือประมาณ 18,000 -24,000 บาทต่อตัน ส่วนเกรดรองลงมาส่วนใหญ่จะถูกนำเข้ามาในไทยซึ่งนำไปใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ในราคาตันละ 550 เหรียญสหรัฐ 16,500 บาท ที่นำราคามาแจ้งให้ประชาชนคนทั่วไปได้ทราบก็เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าอาหาร สัตว์ยี่ห้อใดมีราคาที่สูงเกินไปจะได้เลือกซื้อกันได้ตามความพึงพอใจ
เศรษฐกิจ และการเมืองทำให้เสฐียรภาพของรัฐบาลในการบริหารประเทศทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้ราคาพืชไร่ไม้ผลหลากหลายชนิดตกต่ำลง ดังนั้นสิ่งที่อยากให้พี่น้องเกษตรกรควรจะเฝ้าสังเกตและศึกษาเพื่อพัฒนาเป็น อาชีพเสริมแต่อย่าหักโหมเลี้ยงกันจนล้นตลาดเดี๋ยวจะทำให้เจ๊งกันอีกแบบเดียว กับหลายๆครั้งที่ผ่านมา สถานการณ์ด้านตลาดของไก่ในช่วงนี้ถือว่าสดใสเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ญี่ปุ่นยกเลิกการแบนนำเข้าไก่สดจากประเทศไทยตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว อีกทั้งการกระตุ้นตลาดของกรมการค้าต่างประเทศที่จับมือกับกรมปศุสัตว์ไปจีบ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และล่าสุดฟิลิปปินส์ ตลาดหลักอย่างยุโรปก็มีแนวโน้มว่าจะสั่งซื้อไก่จากประเทศเรามากขึ้น
ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าส่งออกไก่ทั่วโลก ในห้วงช่วงหนึ่งถึงสามปีข้างหน้าอยู่ที่ 500,000 ตัน โดยมี ไก่สด 300,000 ตัน, ไก่แปรรูป 200,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7-8 หมื่นล้านบาทในอดีตไทยเราเคยส่งไก่สดไปญี่ปุ่นกว่า 200,000 ตัน แต่เกิดวิกฤติไข้หวัดนก จึงหันไปนำเข้าจากบราซิลแทน ประเทศไทยเรานั้นถือเป็นผู้ส่งออกไก่เนื้อเป็นอันดับ 4 ของโลก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) รองจากบราซิล, สหรัฐอเมริกา, และสหภาพยุโรป และแนวโน้มการส่งเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยเพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยราว 9% ต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวนี้น่าจะพอเป็นแนวทางให้เกษตรกรที่สนใจและมีพื้นฐานการ เลี้ยงสัตว์ที่ดีนำไปใช้ในการนำไปประกอบการตัดสินใจในการหาอาชีพเสริมทดแทน รายได้หลักที่หดหายไปได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: