วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

น้ำเค็ม กรรมซ้ำกรรมซ้อน ซ้ำเติมชาวนาภาคกลาง


เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่เกษตรแถบริมแม่น้ำ คลองซอยต่างๆในพื้นที่นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ มีน้ำเค็มบุกรุกเข้าแทนที่น้ำจืด ทำให้นาข้าวเกษตรกรเสียหาย บ้างก็ยืนต้นตาย บ้างก็ลีบไม่สม่ำเสมอ สุกไม่พร้อมกัน เกษตรกรท่านหนึ่งกล่าวว่าตนเองทำนามาเกือบ 10 ปี ยังไม่เคยพบเจอมาก่อน นิ่งๆต้นข้าวใบไหม้แล้วยืนต้นตาย ต้นไหนที่รอดมีรวงโผล่ เมล็ดก็จะลีบไม่สม่ำเสมอ แรกๆก็ไม่คิดว่าเป็นเพราะน้ำที่เค็มขึ้นหรอก ยังเข้าใจว่าเป็นที่อากาศหนาวนานไปหน่อย แต่พอสำรวจดูแปลงอื่นรอบๆที่ห่างออกไป ไม่เป็นไร...ยิ่งแน่ใจเลยว่าไม่ใช่อากาศหนาว เพราะต้นข้าวที่ตายและรวงลีบส่วนใหญ่อยู่ในแปลงที่ใกล้แม่น้ำหรือติดคลองซอยใกล้แม่น้ำเท่านั้น


ปีก่อนๆต้นข้าวในนาก็โตปกติไม่มีปัญหาอะไร อาจเป็นเพราะว่าน้ำในคลองที่เชื่อมต่อแม่น้ำเจ้าพระยายังปกติ ไม่เค็มเหมือนปีนี้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากอากาศที่ร้อนและแล้งยาวนานทำให้น้ำจืดในแม่น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ที่น่าสังเกตปลาในคลองใกล้แม่น้ำมักลอยหัวเหมือนว่าในน้ำไม่มีออกซิเจนอยู่เลยยังไงยังงั้น เลยให้เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลมาดู จนได้รับคำยืนยันว่า...ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงนานทำให้น้ำจืดในธรรมชาติลดลง เมื่อน้ำทะเลหนุนสูงจะทะลักเข้ามาผสมทำให้ในน้ำคลองซอยหรือแปลงนาเค็มขึ้น เมื่อน้ำเค็มมากๆเข้า ทำให้ดินเค็ม ต้นข้าวเริ่มใบไหม้ จากนั้นก็ค่อยๆยืนต้นตายในที่สุด
สร้าง สมดุลธรรมชาติรักษาระดับน้ำจืดในแม่น้ำ ปลูกพืชหมุนเวียนระหว่างใช้น้ำน้อย-ใช้น้ำมาก ไล่ความเค็มออกจากดินโดยการล้างหรือขังน้ำ อาจจะเป็นวิธีที่ดีแต่ปฏิบัติยากเพราะน้ำมีจำกัด การปรับสภาพดินโดยใช้ปูนมาร์ลหว่านตรงจุดที่พบว่าหน้าดินเค็มแต่ดินชั้นล่าง ยังเป็นกรดอยู่ ส่วนพื้นที่ใดหน้าดินก็เค็มดินชั้นล่างก็เป็นด่างให้หว่านยิปซั่มแทนจะให้ผล ที่ดีกว่า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดน้ำ เห็นผลเร็ว ต้นทุนต่ำ ที่สำคัญไม่เสียเวลา ไม่ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ หากวิธีข้างต้นยังยุ่งยากเพราะไม่รู้ว่า เค็ม-กรด, เค็ม-ด่าง เป็นอย่างไร? อย่างนี้แล้วกัน...เมื่อไรน้ำในนาเริ่มกร่อยและใบข้าวเริ่ม ไหม้ให้เกษตรกรหว่านภูไมท์ซัลเฟต(สีแดง)สามารถลดปัญหาข้าวใบไหม้ยืนต้นตาย จากน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน (081-6929660)

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: