วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ป้องกันกำจัดปลวก ด้วยจุลินทรีย์เมธาไรเซียม ปลอดภัยไร้สารพิษ


เรื่องราวที่ผู้เขียนจำนำเสนอในบทความตอนนี้ก็คือเรื่อง ปลวก ที่ชอบระบาดในช่วงฤดูฝนพร้องทั้งวิธีป้องกันกำจัดด้วยวิธีปลอดสารพิษ ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนแล้วสิ่งที่เราต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นคือการที่ ปลวกจะเข้ามาผสมพันธุ์และใช้พื้นที่ในบ้านของเราในการสร้างรังของมัน ปลวกเป็นแมลงสังคมเพราะภายในรังจะมีการแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ซึ่งเราก็ได้รู้จักปลวกในแต่ละวรรณะกันแล้วในคราวก่อน ในครั้งนี้เรามารู้ถึงวงจรชีวิตของปลวกกันเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำรงชีพของปลวกและเพื่อเป็นการป้องกันกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง ขึ้น  เริ่มจากปลวกตัวเต็มวัยจะมีปีกหรือที่เรารู้จักกันว่า แมลงเม่าเรา จะพบแมลงเม่ามากในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม-มิถุนายน) หรืออีกช่วงหนึ่งจะเป็นช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ ถ้าในช่วงดังกล่าวมีฝนตกผิดฤดู ช่วงดังกล่าวจะมีปริมาณความชื้นสูง จึงเป็นระยะที่เหมาะกับการผสมพันธุ์เราจึงสามารถพบเห็นแมลงเม่าได้มากในระยะ ดังกล่าว

แมลงเม่าเป็นปลวกทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ไม่เป็นหมัน เมื่อบินออกจากรังจะจับคู่กันแล้วจะสลัดปีกทิ้ง จากนั้นจะพากันไปหาสถานที่ที่เหมาะสมในการที่จะเป็นรังใหม่ของมันต่อไปนั่นคือที่ที่มีความชื้นสูงและมีอาหารคือไม้อยู่อย่างพอเพียง  ขั้นตอนการผสมพันธุ์เริ่มจากเพศเมีย ซึ่งเป็นราชินีปลวกจะชูส่วนท้องและปล่อยกลิ่นฟีโรโมนเพศ ทำให้ปลวกราชาเคลื่อนที่เข้าไปหาและเริ่มการผสมพันธุ์ เมื่อสร้างรังเสร็จตัวเมียจะเริ่มวางไข่ในระยะต่อมาภายในระยะเวลา 1 เดือน การวางไข่ครั้งแรกจะมีจำนวนน้อยประมาณ 10 ฟองหรือมากกว่า ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนออกมาภายในเวลาหลายสัปดาห์ โดยปลวกรุ่นแรกจะเป็นปลวกงานและปลวกทหาร ในระยะแรกตัวอ่อนจะได้รับอาหารจากปลวกราชินีโดยการกินมูลและอาหาร ซึ่งทำให้ปลวกได้รับโปรโตซัวและแบคทีเรีย ต่อมาส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ขึ้นจะเริ่มวางไข่อีกและจะเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนไม่ได้ ในครั้งนี้จะเป็นการผลิตปลวกงานและปลวกทหารให้เพิ่มขึ้น ในระยะ 3-4 ปีต่อมาราชินีจึงวางไข่เพื่อผลิตวรรณะสืบพันธุ์ชุดแรก (primary reproductive)  สำหรับตัวราชาปลวกจะมีรูปร่างขยายขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก จะคอยอยู่ใกล้ๆ กับตัวนางพญาปลวกเพื่อทำการผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว
ปัญหาเรื่อง ปลวกที่มักก่อกวนและสร้างความรำคาญใจให้กับมนุษย์เราในทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่อยู่อาศัย ไร่นา สวนป่า สวนยาง ฯลฯ  ปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือแก้ไขบรรเทาแก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเหล่านั้นอยู่บ้าง แต่วิธีการรักษาและป้องกันกำจัดส่วนมากจะยังคงใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงเสียป็นส่วนใหญ่ทำให้ไม่ได้รับความปลอดภัยทั้งคน สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม เพราะอาจจะมีสารพิษตกค้างก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เชื้อจุลินทรีย์เมธาไรเซียม นั้นเกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญของผู้ที่ศึกษาวิจัยและเพาะเห็ดยุคบุกเบิกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่ได้ทำการทดลองและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเห็ดโคนว่าทำไมถึงได้เจริญเติบโตและขึ้นได้เฉพาะที่จอมปลวกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หลังจากที่ได้ขุดจอมปลวกเพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบนิเวศน์ของรังปลวก ได้สังเกตเห็นว่าทุก ๆ จอมปลวกที่ร้างไปนั้น จะมีเชื้อราเขียวที่ชื่อว่า เมธาไรเซียม อยู่ที่รักเก่าร้างนั้นทุกครั้งไป ทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาตามมาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการกำจัดปลวกอยู่ในปัจจุบัน
คุณวัฒนา คนไว  อยู่บ้านเลขที่ 85 หมู่ 9 ต.บ้านเอื้อง อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องปลวกในสวนและบริเวณรอบ ๆ บ้านอยู่ด้วยเหมือนกัน แต่จะใช้วิธีการป้องกันรักษาแบบปลอดสารพิษโดยการนำ   เชื้อจุลินทรีย์ เมธาไรเซียม ไปใช้ทดแทนการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เพราะเกรงว่าจะได้ผลกระทบจากสารพิษที่ตกค้างจนอาจจะทำให้เกิดพิษภัยและโรคต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมาในภายหน้า  วิธีการใช้โดยนำเชื้อจุลินทรีย์ เมธาไรเซียม ผสมน้ำราดเทลงไปในรังปลวก โดยก่อนที่จะทำการราดรดจุลินทรีย์กำจัดปลวก เมธาไรเซียมลงไปนั้น ได้นำเหล็กแหลมทิ่มตำลงไปในรังปลวกหลาย ๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้ทำให้เชื้อเมธาไรเซียมสามารถซึมซาบ ผ่านเข้าไปจนทั่วรังปลวกอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาการใช้ คุณวัฒนา จะใช้เชื้อจุลินทรีย์เมธาไรเซียมเพียงเดือนละครั้ง อัตราการใช้ไม่แน่นอนแล้วแต่ขนาดรังหรือตามความพอใจเสียเป็นส่วนใหญ่ หลังจากที่ได้ใช้ไปผลปรากฏว่าปลวกตายยกรัง และก็จะกลับมาสร้างรังใหม่ภายใน 1 เดือน โดยวัตถุประสงค์ของคุณวัฒนา บอกว่าจะไม่ฆ่าปลวกให้ตายทีเดียวทั้งหมด แต่จะใช้วิธีการควบคุมประชากรปลวกแทนโดยควบคุมไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะว่าต้องการที่จะเลี้ยงปลวกไว้ให้กินพวกเศษไม้เศษต่าง ๆ ในสวนของตนเอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้กับเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือคุณจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 (ผู้เขียน)

เขียนโดย : คุณจตุโชค  จันทรภูมี
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: