วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข้าวกระทบหนาวต้องบรรเทาด้วย สูตรแก้หนาวข้าวได้น้ำหนัก


Ricegreenplus.gif
รอบฤดู การผลิตข้าวในหนึ่งปีจะมีอยู่หนึ่งฤดูกาลเท่านั้นท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า จะเป็นฤดูที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในทุกๆปัจจัยที่จะช่วยให้ข้าวมีผล ผลิตออกมามากที่สุดกว่าทุกฤดูกาล ชาวนาในพื้นที่ภาคกลางโดยเฉพาะผู้ที่มีพื้นที่ในเขตชลประทานนั้นเขาจะสามารถ เพาะปลูกข้าวได้มากถึงสองครั้งครึ่งหรือถึงสามครั้งถ้ามีการวางแผนเรื่อง เวลาให้พอเหมาะพอดี แต่อย่างว่าล่ะครับนาที่อยู่ในพื้นที่ชลประทานไม่จำเป็นต้องรอน้ำฝนแต่เพียง อย่างเดียว เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จก็สามารถที่จะคราดไถทำเทือกเตรียมหว่านได้ทันทีโดยที่ ไม่ต้องรอน้ำจากฝนฟ้า จึงทำให้สามารถบริหารจัดการเรื่องเพาะปลูกได้อย่างรวดเร็ว จะช้าไปบ้างก็เพียงรอรถเกี่ยว หรือรอรถไถ รถแทรกเตอร์ หรือรอรถอีขลุก ที่มีการจองคิวรอกันเป็นหางว่าวในฤดูทำนา
ถ้ารอบการปลูกตรงกับช่วงสภาพอากาศที่ดีที่สุดของปีนั้น ๆผลผลิตที่จะได้ร้อยถังต่อไร่ก็ทำได้ไม่ยาก และก็แทบไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการป้องกำจัดโรคและแมลงและปุ๋ยยาที่สูงจนเกินเหตุ. (เพราะทุกอย่างดูจะง่ายดายไปเสียหมด)  ฤดูกาลที่ว่าแต่ละปีไม่แน่ไม่นอนส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในห้วงช่วงเดือนสิงหาคมไปหาพฤศจิกายนธันวาคมนี่แหละครับ ถ้าระยะเวลาเลื่อนต่ำลงมากไปกว่านี้ก็อาจจะกระทบฝนมากไป และถ้าเลื่อนสูงไปกว่านี้ก็จะไปกระทบหนาวได้อีกเช่นกันทำให้ผลผลิตได้ออกมาไม่เต็มที่ ฉะนั้นในหนึ่งปีที่ทำนาปลูกข้าวกันหลายรอบนั้น ชาวนาจะมีรายได้ที่ที่สุดเพียงครั้งเดียว ที่เหลืออีกหนึ่งหรือสองครั้งก็จะได้แบบพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องพอประทังหรือพอให้มีเงินทุนหมุนเวียนใช้ไปได้วันต่อวัน
ยิ่งถ้าปีใดต้องเจอกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากๆ ข้าวก็จะมีอาการต้นและใบเหลือง และมีอาการจู๋คือข้าวอยู่ระหว่างตั้งท้องกระทบหนาวและเมื่อถึงเวลาออกรวง แต่ไม่สามารถออกรวงได้จนสุด ออกมาเพียงครึ่งๆกลางๆ จึงยิ่งทำให้ผลผลิตลดน้อยถอยลง ขายได้ปริมาณน้อย และได้รับเงินน้อยตามมาเช่นกัน ข้าวที่กระทบกับอากาศหนาวและมีใบเหลือง เกษตรกรชาวไร่ชาวนาก็หวาดระแวงกลัวจะมีปัญหารีบนำปุ๋ยยูเรียมาหว่านพรมทับลงไป (แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรแม้แต่น้อย) เพราะไนโตรเจนจากปุ๋ยยูเรียไม่สามารถตอบสนองต่อการดูดกินของต้นข้าวได้ดีนักในช่วงอากาศหนาวเย็น กระบวนการเผาผลาญ (metabolism) ยังไม่ค่อยทำงานหรือแอคทีฟ.  และจะให้โทษมากกว่าประโยชน์ในช่วงระยะเวลาที่ข้าวได้รับความอบอุ่นเมื่ออากาศหนาวผ่านพ้นไป คือข้าวจะได้รับไนโตรเจนส่วนเกินค่อนข้างมากทำให้เฝือใบงามใบ อวบอ้วนง่ายต่อการทำลายของหนอนและแมลง
วิวัฒนาการของการแก้ปัญหาเรื่องข้าวกระทบหนาวนั้น ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้มีการส่งเสริมมาตั้งแต่การใช้จุลธาตุกลุ่มสังกะสีหรือซิงค์คีเลท75% และพัฒนาเรื่อยมาเป็นไวตาไลเซอร์ และก็พัฒนามาจนถึงตัวที่คิดว่าดีที่สุดในขณะนี้ เพราะได้มีการเพิ่มองค์ประกอบในการต้านอากาศที่หนาวจัดและร้อนจัดโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น สังกะสี นิกเกิล ซัลเฟอร์ และยังมีธาตุเสริมให้มีภูมิต้านทานมากยิ่งขึ้นอีกอย่างซิลิสิค ทองแดง แมงกานีส ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ที่ว่าก็คือ "ไรซ์กรีนพลัส" นั่นเอง สามารถนำไปใช้ในแปลงนาข้าวเมื่อมีปัญหากับสภาพภูมิอากาศที่ผันผวนแปรปรวนหรืออากาศที่หนาวจัดแงะร้อนจัด และยังสามารถนำไปใบ้ได้กับพืบทุกชนิด ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรทุกๆ5-7 วัน
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: