วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปลูกข้าวทำนา ปรับปรุงบำรุงดินด้วยหินแร่ภูเขาไฟ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี


 ภูไมท์ซัลเฟต4.5.gif





















เมื่อ 75,000 ปีที่ผ่านมาภูเขาไฟลูกแรกที่ระเบิดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย บนเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นประเทศที่มีเกาะแก่งเยอะแยะมากมาย ภูเขาไฟที่ว่านี้มีชื่อว่าโทบา มีความรุนแรงหนักหน่วงจนได้ยินเสียงคำรามเลื่อนลั่นสั่นสะเทือนไปไกลหลาย ร้อยกิโลเมตร มีเศษหินฝุ่นควันขี้เถ้าขนาดใหญ่มหึมาปกคลุมพื้นโลกและบดบังดวงอาทิตย์นาน เป็นเดือนๆ ว่ากันว่าการระเบิดของภูเขาไฟโทบานั้นก่อให้เกิดยุคน้ำแข็งยุคใหม่ของโลก ขึ้นมาเลยเลยทีเดียว

ต่อมาในปี 1815 ก็เกิดการระเบิดเลื่อนลั่นสั่นสะเทือนอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้เสียงดังออกไปไกลกว่า 850 กิโลเมตร แม้แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ที่ประเทศไทยเราก็ยังได้ยินเสียงด้วย ในยุคสมัยนั้นประชาชนคนทั่วไปคิดว่าเป็นเสียงปืนใหญ่ของฝรั่งเศษเพราะกำลัง มีเรื่องพิพาทกันอยู่ในยุคของสมัยรัชกาลที่ 5 ภูเขาไฟลูกที่ว่านี้มีชื่อว่า "แทมโบรา" เศษผงเถ้าธุลีลอยคละคลุ้งมืดดำบดบังดวงอาทิตย์นานหลายเดือนทำให้โลกเวลานั้น ไม่มีฤดูร้อนย่างกรายเข้ามา กว่าละอองเถ้าธุลีจะร่วงหล่นลงมาจนท้องฟ้าโปร่งใสก็ใช้ระยะเวลาเป็นปี

นับจากนั้นอีก 150 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์จึงได้รู้ว่าการระเบิดของภูเขาไฟ "แทมโบรา" นั้นเป็นการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในรอบหมื่นปี แม้แต่การระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียสที่อิตาลี มีลาวาไหลท่วมทับคนตายทั้งเป็น หรือการระเบิดของภูเขาไฟกรากาตัว  (Krakatoa) ในปี 1883 มีเสียงกึกก้องไปไกลถึง 4,828 กิโลเมตรหรือ 3,000 ไมล์ มีคลื่นยักษ์สึนามิถาโถมสูงถึง 100 ฟุต มีคนล้มตายตายมากถึง 3.5 หมื่นคน ความรุนแรงก็ยังไม่เทียบเท่ากับการระเบิดของภูเขาไฟ "แทมโบรา" และถ้าอยากรู้ความรุนแรงในครั้งนั้นก็น่าจะเทียบได้กับความรุนแรงของการ ระเบิดปรมาณูที่อเมริกาบอมทิ้งใส่เมืองฮิโรชิม่าเท่ากับ 60,000 ลูกทีเดียวเชียวล่ะครับ

ลักษณะการเกิดของภูเขาไฟว่ากันว่า 95% จะเกิดตรงรอยต่อรอยเกยของแผ่นเปลือกโลกที่เรียกว่า subduction Zone และอีก 5% จะเกิดตรงกลางแผ่นทวีปซึ่งมีความหนาถึง 40-60 กิโลเมตร และมิได้เป็นแผ่นเดียวกันตลอดทั่วทั้งโลก การแบ่งลักษณะของเปลือกโลกทางภูมิศาสตร์จะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ Oceanic Plate ซึ่งเป็นแผ่นทวีปที่อยู่ในท้องทะเล และ continental Plate คือแผ่นที่เหนืออยู่บนพื้นน้ำซึ่งก็คือแผ่นดินที่เรามองเห็นนั่นเอง และทุกๆความลึกของชั้นเปลือกโลกที่ 60 ฟุต อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮด์ แผ่นเปลือกโลกชั้นในที่อยู่ใกล้แกนโลกจะได้รับความร้อนมหาศาลจนหลอมละลาย กลายเป็นหินหนืด (แมกมา) มีลักษณะไหลวนเวียนไปมาเหมือนน้ำเดือดในกาต้มน้ำ จะมีไอน้ำส่วนหนึ่งระเหยออกทางรอยแยกเหมือนไอน้ำระเหยทางปากของกาต้มน้ำ. อุณหภูมิของหินหนืดจะอยู่ระหว่าง 980-1,200 องศาเซลเซียส และมีแรงดันอยู่ที่ 1 ล้านปอนด์ต่อตารางนิ้ว พร้องที่จะระเบิดทะลักทะลายออกมาตรงส่วนที่อ่อนแอที่สุดของแผ่นเปลือกโลกไม่ ว่าจะเป็นรอยเหลื่อม รอยแยก รอยแตกหรือรอยร้าว และเราเรียกว่าของเหลวที่หลั่งออกมานั้นว่า  "ลาวา"

หินหนืดหรือแมกมาเมื่อถูกแรงดันแรงผลักใต้ชั้นเปลือกโลกอย่างมหาศาลผลักดัน ให้ระเบิดเกิดขึ้นสู่ปากปล่องภูเขาไฟจนกลายเป็น "ลาวา" มาสัมผัสกับแรงดันของชั้นบรรยากาศบนผิวโลกที่บางเบาเพียงหนึ่งชั้นบรรยากาศ จึงเกิดการพองขยายตัวเหมือนข้าวโพดคั่วหรือป๊อปคอร์น ก๊าซและไอน้ำระเหยออกเกิดช่องว่างและอากาศเข้ามาแทนที่มีรูพรุนและโพรงมาก มายเมื่อเย็นตัว  ซึ่งมีองค์ประกอบของแร่ธาตุและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้จากการหลอมละลาย จากหินแร่ธรรมชาติ(Mineral) และมีคุณสมบัติที่พร้อมต่อการผุกร่อนย่อยสลายกลายเป็นอาหารแก่สิ่งมีชีวิตบน โลกทั้งแพลงค์ตอน, พืช, สัตว์ และจุลินทรีย์ ฯลฯ

การนำหินลาวา หินแร่ภูเขาไฟที่ผ่านความร้อนหลายร้อยหลายพันองศา และถูกปล่อยทิ้งไว้จนเย็นตัวลง ผ่านกาลเวลาหลายสิบหลายร้อยล้านปี จึงมีความพร้อมต่อการทำหน้าที่เป็นแร่ธาตุและสารอาหารเติมเต็มความอุดม สมบูรณ์ปรับปรุงบำรุงดิน จนดินมีคุณสมบัติคล้ายกับดินตามป่าเขาลำเนาไพรที่มีความสมบูรณ์ดียิ่ง เมื่อมีการนำไปเติมเสริมลงในแปลงเรือกสวนไร่นา ก็ทำให้ผืนดินบริเวณนั้นถูกจำแลงแปลงผืนดินธรรมดาให้กลายเป็นพื้นที่ภูเขาไฟ คล้ายกับพื้นที่เกษตรกรรมบนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีผู้คนชนทั่วโลกไปเยี่ยมชมการทำเกษตรท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่มิได้มี การฉีดพ่นปุ๋ยยาลงไปเสริมเติมแต่งแม้แต่หยดละอองเดียวก็สามารถทำให้พืชเจริญ เติบโตและแข็งแกร่งต้านทานต่อโรคแมลงเพลี้ยหนอนราไรได้เป็นอย่างดี การใช้หินแร่ภูเขาไฟปรับปรุงบำรุงดินในแปลงนาข้าวจะช่วยลดการใส่ปุ๋ยเคมีลง ไปได้มาก สะสมมากจนเพียงพอ จนแทบจะไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีอีกได้เลย สามารถช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตต่ำ กำไรเพิ่มขึ้นได้ไม่ยาก

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=16075&Param2=18

ไม่มีความคิดเห็น: