วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พีเอชแกว่ง กุ้งอ่อนแรง กินอาหารน้อย อ่อนแอเจ็บป่วย



การเจ็บป่วยของกุ้งนั้น สามารถเกิดได้มากมายหลายสาเหตุ ใช่ว่าจะมาจากเชื้อโรคเพียงอย่างเดียว การที่น้ำและพื้นบ่อสกปรกก็เกิดปัญหาที่ทำให้กุ้งเจ็บป่วยได้เช่นกัน เพราะเมื่อขี้กุ้งและอาหารกุ้งที่ตกค้างบูดเน่าก็ส่งผลทำให้แก๊สพิษต่างๆ อย่างแอมโมเนียไนไตรท์ ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ มีเทน สามารถแทนที่ก๊าซออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดอากาศหายใจ เปรียบเหมือนเราอยู่อาศัยใกล้บ่อขยะ ใกล้แหล่งชุมชนเสื่อมโทรมที่มีน้ำเน่าเสีย เมื่อจะรับประทานหรือหลับนอนแล้วมีกลิ่นเหม็นที่หลากหลายรูปแบบจากขยะหลาก หลายชนิด บางครั้งก็ทำให้การกินอยู่หลับนอนและสุขภาพจิตเสื่อมโทรมได้เช่นกัน

การเจ็บป่วยอ่อนแอของกุ้งอีกสาเหตุหนึ่งก็คือเกี่ยวกับเรื่องความความเป็น กรดและด่างของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา บางครั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก็เรียกกันว่าพีเอชแกว่ง ซึ่งก่อปัญหาให้กุ้งเครียด ไม่กินอาหาร อ่อนแอ เนื่องจากบรรยากาศสภาพแวดล้อมแปรปรวนสร้างความมึนงงคล้ายดังมนุษย์อยู่บน เรือที่โคลงเคลง ทำให้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศรีษะ ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยเอาง่ายๆ ได้เช่น ส่วนกุ้งนั้นเมื่อเครียดและอ่อนแอก็เจ็บป่วยตามรูปแบบและสไตล์ของกุ้ง คืออาจจะเกาะขอบบ่อ วิ่งล่อง (กุ้งล่อง) ซึ่งถือว่าผิกปกติผิดวิสัยของกุ้งที่เป็นสัตว์หากินอยู่ที่พื้นบ่อจะไม่ ขึ้นมาเหนือน้ำให้นกกาจับกินง่ายๆ

เกษตรกรผู้เลี้ยงท่านใดที่มีปัญหานี้สามารถแก้ไขได้นะครับ เพราะสาเหตุเกิดจากปล่อยให้มีขี้เลน ขี้กุ้ง อาหารกุ้งที่ตกค้างหลงเหลือมาก ขาดการตีน้ำ ขาดการเช็คยอ ไม่มีบ่อพักน้ำ ปล่อยให้น้ำในบ่อมีระดับความลึกที่น้อยเกินไป จึงทำให้ปัญหาแพลงค์ตอนบลูมจากไนโตรเจนส่วนเกินจากก๊าซแอมโมเนียในบ่อ แพลงค์ตอนพืชที่มีสีเขียวก็เปรียบได้กับว่าเป็นพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งในอดีตเราอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวอย่าอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ในเวลากลางคืน เพราะพืชจะคายก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกมาแล้วยังแย่งใช้ก๊าซอ๊อกซิเจนด้วย เมื่อพืชจำนวนมากอาศัยเจริญเติบโตอยู่ในบ่อกุ้งของเรา ยิ่งมีความหนาแน่นมากจนสีน้ำหนืดก็ยิ่งสร้างปัญหาสร้างผลกระทบ

เมื่อเขาปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา รวมตัวกับน้ำจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิคทำให้ในเวลากลางคืนน้ำจะเป็นกรดมาก ในเวลากลางตรงกันข้ามคือพืชจะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ทำให้ก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์เจือจาง และพีเอชความเป็นกรดลดน้อยถอยลงตามไปด้วย แต่ถ้าถูกดูดไปใช้งานมากเข้าๆ ค่าความเป็นด่างในน้ำก็จะมีสูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะกลางคืนเป็นกรดกลางวันเป็นด่างหรือเรียกว่าพีเอชแกว่ง แนวทางการแก้ปัญหาต้องลดปริมาณของเสียโดยที่ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายโปรตีนโดย เฉพาะ (บาซิลลัส MT) และจับก๊าซของเสียด้วยกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ (สเม็คโตไทต์) ก็จะช่วยตัดขั้นตอนของการเกิดไนโนตรเจนไปเลี้ยงพืช เพราะธาตุไนโตรเจนก็คล้ายๆกับปุ๋ยพืชในชื่อสูตรยูเรีย 46-0-0 ซึ่งเน้นให้พืชงอกงามเจริญเติบโตได้รวดเร็วโดยเฉพาะใบ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: