วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตั้งรับสถานการณ์เอลณิโญ ปรับตัวแก้ปัญหาภัยแล้งที่ผิดปรกติ


Polymer_bottle.gif















เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคอีสาน ไม่ว่าจะเป็นบึงกาฬ กันทรลักษณ์ จ. ศรีษะเกษ และทางปราจีนบุรี ซึ่งประชาชนคนนอกพื้นที่หรือเราๆท่านๆที่ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวอย่างเกาะติด ชิดขอบจออาจจะไม่ทราบและหลุดเฟรมไปได้โดยไม่ตั้งใจ ถึงแม้ว่าฝนจะตกลงมามากมายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในป่าคอนกรีตอย่างกรุงเทพฯ รู้สึกว่าจะบ่อยและหนักหน่วงเกือบทุกวัน ฝนที่ตกลงมาและในบางพื้นมีน้ำท่วม (ภาคอีสาน) แต่น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ หลายเขื่อนกลับมีน้ำน้อยกว่าปรกติเมื่อเทียบในช่วงเดียวกันกับปีก่อน ไม่ว่าจะเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตต์ และเขื่อนที่ใกล้ๆเราอย่างเขื่อนขุนด่านปราการชลนั้นระดับน้ำลดลงจากปีก่อน ถึง 6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน  บ่งบอกว่าพี่น้องเกษตรกรอาจจะมีความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งได้ เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้เขียนเล่าไว้บ่อยๆ ในคอลัมน์นี้เกี่ยวกับเรื่องปรากฎการณ์เอลณิโญ่ที่จะเกิดกับภูมิภาคเรา ทุกๆ4-5 ปี
 
ยิ่งมีข่าวเกี่ยวกับควันไฟป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียทางช่อง PPTV ล้วนมีนัยยะที่สอดคล้องกับปรากฎการณ์เอลณิโญค่อนข้างแจ่มชัดจากการเตือนของ นาซ่า ปรากฎการณ์เอลณิโญ่คือปรากฎการณ์ความผิดปรกติของสภาพภูมิอากาศเหนือน่านน้ำ มหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความกดอากาศสูงขึ้น กอรปกับอุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกก็อุ่นหรือร้อนขึ้น มีผลทำให้ลมสินค้าตะวันออกที่เคยพัดพาดผ่านจากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกอ่อนตัวลง จึงทำให้กระแสลมค่อยๆพัดตีกลับจากด้านมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกไปยังฝั่ง มหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออกแทนซึ่งทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่ผิดปรกติหรือเรา เรียกกันว่า เอลณิโญ และลานินญา ซึ่งในสภาวะปรกติอุณหภูมิของน้ำบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะสูงจากการที่ลักษณะทาง กายภาพบริเวณเส้นศูนย์สูตรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการระบายความร้อนกลาย เป็นไอระเหยขึ้นสู่บรรยากาศ และหย่อมความกดอากาศเหนือน่านน้ำมหาสมุทรก็ต่ำ ทำให้หย่อมความกดอากาศสูงไหลเข้ามาแทนที่ซึ่งก็คือลมสินค้าตะวันออกนั่นเอง ที่พัดพาเอากระแสน้ำอุ่นจากฝั่งทวีปอเมริกาใต้ เอกวาดอร์ ชิลี เปรู หรือฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออกมาสู่ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก ซึ่งก็คือฝั่งทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะอินโดนีเซีย รวมถึงหมู่เกาะต่างๆที่อยู่บริเวณนี้ด้วย กระแสน้ำอุ่นที่ถูกลมสินค้าตะวันออกสินค้าตะวันออกพัดพามากองรวมอยู่ทางฟาก ออสเตรเลียและหมู่เกาะอินโดนีเซียทำให้ระดับน้ำฝั่งนี้สูงกว่าฝันตะวันออก ถึง 50-60 เซนติเมตร กระแสน้ำอุ่นฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงยกตัวขึ้นทำให้กระแสน้ำเย็น ด้านล่างลอยขึ้นมาแทนที่พร้อมกับแร่ธาตุสารอาหารของภูเขาไฟใต้ท้องทะเลขึ้น มาทำให้มีแพลงค์ตอนและปลาเกิดขึ้นจำนวนมาก ส่งผลดีต่อนกทะเลและอาชีพประมงทางชายฝั่งชิลีและเปรูจนขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่ง จับปลากระตักหรือปลาไส้ตันเป็นอันดับต้นๆของโลก

เมื่อเกิดปรากฎการณ์เอลณิโญลมสินค้าตะวันออกอ่อนตัวลงกระแสน้ำอุ่นที่แต่ เดิมถูกพัดมารวมอยู่ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกจึงค่อยๆทยอยไหลกลับมาพร้อม กับลมที่พัดหวนทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกส่วนกลางและตะวันออก อุ่นขึ้นเกิดไอน้ำและฝนตก น้ำท่วม และกระทบกับอาชีพประมง นกอดอาหารจากกระแสน้ำอุ่นที่ไหลกลับมากดกระแสน้ำเย็นมิให้ลอยตัวขึ้น  ทางฝั่งมหาสมุทรฝั่งตะวันตกอย่างทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะอินโดนีเซียหรือ ตอนใต้ของเอเอชียอุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรก็จะเย็นลง ไม่มีไอน้ำระเหยขึ้น จะกระทบฝนทิ้งช่วงเกิดปัญหาภัยแล้ง ควันไฟป่า ทำให้พืชไร่ไม้ผลภาคการเกษตรเสียหายหนักเบาขึ้นกับสถานการณ์เอลณิโญในแต่ละ ปี ซึ่งเหตุการณ์เอลณิโญนี้จะเกิดขึ้นทุกๆ 4-5 ปี. ในอดีตเมื่อปี 2540-2541 ก็ถือว่ามีความรุนแรงหนักหนาสาหัสมากอยู่เหมือนกัน

ในปีนี้ก็คาดว่าจะเกิดปรากฎการณ์เอลณิโญเช่นเดียวกันและน่าเป็นห่วงว่าจะ รุนแรงพอๆกับปี2540-2542หรืออาจจะมากกว่ายิ่งหันกลับไปดูปริมาณน้ำในเขื่อน ด้วยแล้วยิ่งน่าใจหายเพราะปริมาณน้ำในเขื่อนที่สำรองต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบ กับปีก่อนๆ จึงอยากให้ทุกคนชช่วยกันภาวนาให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้ฟ้าฝนหรือพายุ ลูกแล้วลูกเล่าที่เข้ามาและผ่านไปให้น้ำฝนโปรยปรายตกเหนือเขื่อนทุกเขื่อนใน ประเทศไทยให้มากๆ เพื่อที่พี่น้องเกษตรกรจะได้ไม่เดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง หรือไม่ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับวิกฤติภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นด้วยการ ทำสระน้ำประจำไร่นาตามแนวพระะราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ สามารถช่วยทำให้พี่น้องไทยทั่วทั้งประเทศมีแหล่งน้ำทำการเกษตรได้ เตรียมการสำรวจตรวจรอยรั่วซึมใช้สารอุดบ่อกันรั่วกันซึมให้เรียบหรือการใช้ สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์มาประยุกต์ใช้ในการปลูกพืชก็สามารถที่จะแก้ปัญหาภัยแล้ง ลดการสูญเสียในครานี้ได้ไม่มากก็น้อย

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=16065&Param2=17

ไม่มีความคิดเห็น: