วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

ลดปัญหากล้าพริกเน่าตายคาหลุม

อาชีพปลูกพริกนั้นถือว่ากระจัดกระจายไปในหลายจังหวัดทั่วประเทศ เพราะพริกสามารถที่จะปลูกให้เจริญเติบโตได้ในหลายพื้นที่สำหรับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา พริกนั้นแม้จะปลูกง่ายกับดินเกือบทุกชนิดแต่ก็ใช่ว่าจะชอบความชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง คือทนกับสภาวะความแห้งแล้งได้ดีกว่าน้ำท่วมขัง ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพริกจึงควรเป็นดินร่วนปนทรายมีการระบายถ่ายเทน้ำได้ดี เพื่อให้ออกซิเจนแทรกซึมลงไปในดิน รากพริกไม่เครียดก็สามารถที่จะดูดกินแลกเปลี่ยนสารอาหารได้ดี อย่างไรก็ตามพื้นที่ปลูกพริกส่วนใหญ่จะอยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้มีเพียงเล็กน้อย
ตลาดของพริกนั้นมีทั้งในและต่างประเทศ ปัญหาที่พบมากในการส่งพริกไปขายยังต่างประเทศคือสารพิษตกค้าง ถึงแม้ว่าบางครั้งจะผ่านมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนดก็ตาม แต่ก็ยังมีการตีกลับจากประเทศชั้นนำอย่างญี่ปุ่นที่พบพริกมีสารพิษตกค้างเพียง 1 ถึง 2 กิโลกรัมต่อตู้1ตู้คอนเทนเนอร์และมีการเผาทิ้งสร้างความสูญเสียให้แก่พ่อค้าพริกส่งออกมานักต่อนัก อันนี้ก็เนื่องด้วยอาจจะขาดการตรวจสอบและการปฏิบัติดูแลเรื่องการปลูก การบำรุงที่ดีพอ จึงทำให้มีพริกที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของประเทศผู้รับซื้อจะรับได้

การปลูกพริกนั้นปัญหาเบื้องต้นก็คือโรคกล้าเน่ายุบซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ตั้งแต่เริ่มปลูกพริก โดยเฉพาะผู้ปลูกพริกมือใหม่ จึงขออนุญาตท่านผู้อ่านนำสูตรและเทคนิคเล็กๆน้อยๆ มาเพื่อเป็นทางเลือกในการนำไปปฏิบัติ การเตรียมกาบมะพร้าวหั่นหรือสับ และขุยมะพร้าวผสมกัน หรือบางคนอาจจะใช้พี้ทมอส ก่อนที่จะใส่ภาชนะปลูกควรนำมาผสมกับ จุลินทรีย์แก้โรครากเน่าโคนเน่าหรือจุลินปราบเชื้อราโรคพืชเสียก่อนในอัตรา  วัสดุ ปลูก 50 ส่วน ต่อเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 1 ส่วน และหินแร่ภูเขาไฟ สร้างภูมิต้านทานและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์อย่าง พูมิชซัลเฟอร์ 5 ก.ก. คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนไปใส่ในแปลงเพาะ ถาดเพาะ หรือใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าเมื่อได้รับความชุ่มชื้นและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็ จะเจริญเติบโตขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้นทำหน้าที่เฝ้ายามมิให้จุลินทรีย์ตัวร้าย เข้ามากล้ำกลายในพื้นที่ปลูกได้ หินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ จะค่อยๆ ย่อยสลายปลดปล่อยตัวเองออกมาเป็นอาหารให้แก่พริกและยังมีซิลิก้าที่คอยสะสม บริเวณรอบๆ ปลายราก รากขน และผนังเซลล์ทั่วทั้งลำต้น ทำให้เชื้อราโรคพืชเข้าทำลายได้ยาก วิธีการนี้ที่ ไทยกรีนอะโกรฟาร์ม 196 หมู่ 9 ตำบลรำมะสัก จังหวัดอ่างทอง 14120 ทดลองแล้วได้ผลดีไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อราเข้าทำลายเลยแม้แต่น้อย

มนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: