วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีป้องกันเพลี้ยกระโดดในนาข้าว


สวัสดี ครับพี่ๆน้องๆชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็จะมาหากลวิธีการป้องกันและกำจัดเจ้า แมลงศัตรูข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่คอยจะเผาผลาญทำลายผลผลิตของเกษตรกรที่ ปลูกข้าวอยู่ทุกๆฤดูและทุกๆการทำการปลูกข้าว โดยเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens (St?l) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form)  และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆหรือขั้นหนักๆก็ตายทั้งแปลงปลูก


การป้องกันเบื้องต้นเกษตกรจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด ปัจจัยที่ว่ามาก็คือ การหว่านข้าวหนาแน่นจนเกินไป การใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินจนทำให้ข้าวอวบอ้วนอ่อนแอต่อการเข้าทำลาย  การ ใช้สารเคมีกำจัดจนทำให้เพลี้ยกระโดดดื้อยา เมื่อเข้าใจปัจจัยของการระบาดแล้วเกษตรกรก็ต้องปรับวิธีการปลูกข้าวให้ไม่ เอื้ออำนวยต่อการระบาด ต่อมาก็เพิ่มซิลิก้าทางใบและทางดินเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งแข็งแรงให้กับ ข้าวเช่น ใบตั้งแข็ง ลำต้นแข็งแรงก็จะสามารถลดการทำลายได้อย่างดี ซิลิก้าทางใบของชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะมีชื่อว่าซิลิสิคแอสิคและซลิก้าทางดิน จะมีชื่อว่าพูมิช-ซัลเฟอร์ เมื่อต้นข้าวแข็งแรงแข็งแกร่งแล้วแต่ก็ยังมีการเข้าทำลายอยู่บ้างเล็กน้อย เกษตรกรก็ควรจะใช้สารสกัดจากสมุนไพรต่างๆเช่น สะเดา ยาสูบ บอระเพชร(สมุนไพรอะไรก็ได้ที่มีกลิ่นฉุนและรสขม)ผสมร่วมกับจุลินทรีย์ทริปโต ฝาจ(บูวาเรีย)กำจัดเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กรณีที่เกษตรกรใช้สารสกัดจากสมุนไพรก็จะช่วยป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจาก แปลงข้างๆหรือจากที่อื่นๆเข้ามาที่แปลงนาได้อย่างมีประสิทธิภาพแถมยังเป็น การป้องกันแม่ผีเสื้อกลางคืนที่คอยจะมาวางไข่ทำให้เกิดหนอนใบขาว หนอนกอ เป็นต้นอีทางหนึ่งด้วยครับ หลักการนี้จะช่วยให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารเคมีทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงมี อายุยืนนานขึ้น วิธีการทั้งหมดที่กล่าวมานั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรทั้งสิ้นขอเพียงเกษตรกร หมั่นสำรวจตรวจตราแปลงนาของตัวเองบ่อยๆและอย่ารอให้มีการระบาดรุนแรงก่อนถึง จะมารักษาทีหลังและเปิดใจทดลองการทำนาแบบอินทรีย์บ้างอย่ามัวยึดติดกับสาร เคมีแบบคร่ำครึกโบราณเพราะสมัยนี้เกษตรแบบอินทรีย์ได้พัฒนาไปไกลแล้ว

เขียนและรายงานโดย พิสิษฐ์(หนึ่ง) ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 www.thaigreenagro.com
เขียนและรายงานเมื่อวันพุธที่ 05 มีนาคม 2557
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15129&Param2=14

ไม่มีความคิดเห็น: