วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

อากาศร้อน อาหารเน่าบูดง่าย คอกสัตว์มีกลิ่นเหม็น ไก่แพะแกะสุกรเจ็บป่วยง่าย


อากาศที่ร้อนอบอ้าวสลับกับพายุฤดูร้อนทำให้เกิดทั้งกระแสลมพายุและมีฝนตกไปพร้อมๆกัน แม้มนุษย์ที่มีสติปัญญาเอาตัวรอดและมีภูมิต้านทานที่ดีพอยังเจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่อเอาได้ง่ายๆ นับประสาอะไรกับหมู เห็ด เป็ดไก่ที่มีขนาดและสติปัญญาด้อยกว่ามนุษย์ (แฮ่ะๆ ไม่รวมเห็ดนะครับ) เมื่อได้รับกระทบจากสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ก็ทำให้เจ็บป่วยล้มตายก่อนจับก่อนเก็บเกี่ยวเอาได้ง่ายๆ

โดยเฉพาะสัตว์อย่างไก่ แพะ แกะ สุกรนั้นมักจะขับถ่ายของเสียออกมาเป็นประจำ แถมยังไม่เป็นที่เป็นทางทำให้มีของเสียกระจัดกระจายไปทั่วพื้นคอกหรือฟาร์ม สิ่งขับถ่ายหรือของเสียเหล่านี้มีองค์ประกอบของโปรตีนในปริมาณมาก เพราะอาหารเลี้ยงสัตว์จากบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศเราต่างก็แข่งขันกันเพิ่มตัวเลขโปรตีนข้างกระสอบให้สูงเพื่อแข่งขันกันในแง่การตลาด ใครมีโปรตีนสูงมากกว่าก็ขายได้ดีกว่า แต่บางครั้งปริมาณโปรตีนสูงมากเกินไปจนกระบวนการเผาผลาญของสัตว์ย่อยสลายให้หมดได้ในทันที

เมื่อขับถ่ายออกมา ภายในมูลจึงมีปริมาณตกค้างอยู่มาก เมื่อบรรจบกับอากาศร้อนอบอ้าวเอื้อต่อการทำงานของจุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา โปรตีนที่อยู่ในมูลสัตว์ก็บูดเน่าส่งกลิ่นเหม็นเกิดก๊าซของเสียต่างๆ ทั้งในรูปแอมโมเนีย, ไนไตรท์ก๊าซไข่เน่า (ไฮโดรเย่นซัลไฟด์) , และมีเทน ทำให้สัตว์มีอาการมึนงง ไอจามดูคล้ายเป็นหวัด แต่จริงไม่ใช่หวัดเป็นเพียงหวัดเทียม ส่งผลให้เครียดกินอาหารได้น้อย เจ็บป่วยล้มตายได้ง่าย

อาหารสัตว์มักนำวัตถุดิบประเภทข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, กากถั่ว, ปลาป่น ปลาแห้งมาผลิต จึงมีความเสี่ยงเกี่ยวเชื้ออะฟลาท๊อกซิน ซึ่งเป็นเชื้อราที่ทำให้สัตว์เป็นโรคเกี่ยวลำไส้หรือทางเดินอาหารได้ง่าย การใช้หินแร่ภูเขาไฟหรือซีโอไลท์ (พูมิช, ซีโอฟาร์ม, สเม็คโตไทต์) (2542 ; ศุภสิทธิ์ ปัททุม เลขประจำตัว 38140299, ผลของการผสมซีโอไลท์ในอาหารไก่กระทงเพื่อเป็นท๊อกซินไบเดอร์ สถาบันสมทบวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์) (นิคม ชนะหาญ, สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวอิสระกุล ; การใช้พัมมิชเป็นสารดูดซับแอมโมเนียในไก่เนื้อ. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ซึ่งมีคุณสมบัติคลุกผสมกับอาหารให้สัตว์กินในอัตรา 3% จะช่วยจับสารพิษตกค้างไม่ว่าจะเป็นเชื้อราหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแมลงในขั้นตอนการเพาะปลูก

เมื่อนำไปหว่านกระจายให้ทั่วพื้นคอกก็จะช่วยจับกลิ่นเหม็นก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไข่เน่าฯลฯ ทำให้สภาพแวดล้อมโดยรวมไม่เป็นที่น่ารังเกียจแก่เพื่อนบ้านใกล้เคียง กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตแถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อสะสมอยู่ในธรรมชาติก็จะค่อยๆย่อยสลายตัวเองให้กลายเป็นปุ๋ยเป็นประโยน์ต่อพืช หินแร่ภูเขาไฟที่ผ่านการจับกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์มาแล้วจะช่วยทำให้มูลสัตว์นั้นกลายเป็นปุ๋ยมูลสัตว์ละลายช้า นำไปใส่ให้ต้นพืชก็จะไม่อ่อนแอ เฝือใบ ทำให้เขียวนานเขียวทน ยากต่อการเข้าทำลายของแมลง เพลี้ยหนอนราไร (2544 : พัชนี ชัยวัฒน์, ผลของซิลิก้าในต้นข้าวต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, วารสารวิชาการเกษตร, สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ประเทศฟิลิปปินส์)

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: