วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

สระน้ำประจำไร่นาแก้ปัญหาภัยแล้ง

เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียงตามแนวแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นยิ่งบ้านเมืองเราวุ่นวายเศรษฐกิจฝืดเคือง ข้าวยากหมากแพง ค่าครองชีพที่สูงมากขึ้นการดำรงชีวิตในเมืองนั้นก็จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงส่งผลให้คนชั้นกลางส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนปรับตัวหันไปหาอาชีพที่สร้างรายได้เสริมรองรับกับอาชีพหลักที่ทำอยู่ในเมือง ส่วนใหญ่ก็จะกลับไปทำอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ทำนา เพาะเห็ด ปลูกกล้วย อัอย ปาล์ม มัน ยางพาราก็ว่ากันไปตามแต่ละท้องถิ่นที่มีตลาดรองรับหรือโรงงานรับซื้อที่อยู่ไม่ไกลกันเกินไป

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามอาชีพเกษตรกรรมนั้นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นควบคู่กันไปนั่นก็คือแหล่งน้ำ การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต่อให้มีฝีไม้ลายมือมากแค่ไหนแต่ขาดปัจจัยหลักอย่างน้ำก็ไม่สามารถที่จะทำอาชีพเกษตรกรรมได้สำเร็จ เพราะพืชไร่ไม้ผลนั้นจะดำรงคงชีวิตอยู่ได้จะต้องอาศัยน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก พื้นที่ที่อยู่ในแหล่งธุรกันดานห่างไกลจากเขตพื้นที่ชลประทานนั้นจะต้องวางแผนเรื่องแหล่งสำรองน้ำ, ไม่ว่าจะเป็นบ่อสาว, บ่อบาดาล หรือสระน้ำประจำไร่นา เพื่อให้มีน้ำสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็นไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปโภคหรือบริโภค




การทำเกษตรกรรมตามแบบเกษตรพอเพียงนั้นนอกจากจะอาศัยความพอเหมาะพอดีพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันในตนเองที่จะนำพาตนเองให้ผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่างๆนานาไปได้ก็ต้องมีความรู้ควบคู่คุณธรรมไปพร้อมๆกันด้วย สิ่งสำคัญต่างเหล่านี้คือการที่จะต้องพึ่งพิงอิงอาศัยปัจจัยใกล้ตัวที่หาได้ง่ายใช้ในท้องถิ่นไปก่อน การช่วยเหลือตนเองทางด้านแหล่งน้ำเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมก็คือ การสร้างบ่อ สร้างสระน้ำประจำไร่นา ก่อนที่จะรอความช่วยเหลือจากภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว เพราะกว่าจะรอโครงการสร้างเขื่อน ถนนหนทางคูคลอง จนมาถึงพื้นที่เรานั้นอาจจะนานและไม่ทันการณ์ พื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือพื้นที่ที่กักเก็บน้ำไม่อยู่อาจจะใช้สารอุดบ่อ (กลุ่มของคาร์โบฮัยเดรท โพลิเอคริลามายด์) เข้าไปช่วยประสานเนื้อดินให้มีความเหนียวแน่นเกิดโครงสร้างดินที่แข็งแรงไม่ถูกชำระชะล้างไปได้โดยง่าย. ยิ่งนำมาคลุกผสมกับกลุ่มของแร่ดินเหนียวอย่าง เบนโธไนท์ (Bentonite). ในอัตราสารอุดบ่อสองกิโลกรัมบวกกับ เบนโธไนท์ 100 กิโลกรัมนำไปหว่านกระจายในพื้นที่ 1 ไร่ ต้นทุนต่อไร่ประมาณ 1,000 กว่าบาทเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่ใช้แผ่นพลาสติก PE. ปูและกระบวนการอื่นๆ ต้นทุนหลายแสนหรือเกือบล้านบาทต่อไร่ การใช้สารอุดบ่อนำไปใช้กับแหล่งกักเก็บน้ำภาคการเกษตรแบบปีชนปีก็ถือว่าพอเหมาะพอดีพอประมาณเหมาะสมกับวิถีชีวิตบ้านเรา

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com.

ไม่มีความคิดเห็น: