วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

ถึงดินจะเค็ม จนเห็นขี้เกลือ ก็ยังแก้ได้

ดินเค็มหรือดินด่างหมายถึงดินที่มีปริมาณของเกลือละลายอยู่ในดินมากเกินค่ากำหนด จนกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือผลผลิตผลทางการเกษตร ทำให้ต้นพืชขาดน้ำ ขาดธาตุอาหารได้ง่าย เนื่องจากไม่สามารถละลายให้ประโยชน์ได้ ปัญหาดินเค็มหรือดินด่างเกิดขึ้นทั่วโลกไม่ว่าที่ตรงนั้นจะแห้งหรือชุ่มชื้น จะเป็นเขตชลประทานหรืออาศัยน้ำฝน ในประเทศไทยพบในภาคอีสาน ภาคกลางและชายทะเล ถือได้ว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่กระทบโดยตรงต่อภาคเกษตร ทำผลผลิตลดลง รายได้ขาดหายไป เกษตรกรส่วนหนึ่งต้องอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาเมืองหางานทำ ดินเค็มหรือดินที่มีส่วนผสมของเกลืออยู่นั้น

ถ้า ลองสังเกตช่วงที่แดดร้อนจัดๆ และพื้นดินแห้งมากๆ จะพบว่ามีคราบสีขาวๆตกอยู่บนผิวดิน เมื่อลองชิมดูก็จะรู้สึกว่าเค็มปลายลิ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากเคมีที่ใช้ในภาคเกษตรมาอย่างยาวนาน บวกกับแหล่งน้ำจืดในธรรมชาติลดน้อยลง ไม่เพียงพอที่จะชะล้างเกลือในดินให้จืดลงได้ การชะล้างเกลือออกจากดินโดยใช้น้ำจึงเป็นแค่โจทย์ที่ไม่มีผลลัพธ์ ยังไม่เข้าตาจนถึงขนาดนั้นหรอกครับ มีอีกหลายวิธีที่สามารถช่วยลดความเค็มของดินลงได้ การปลูกโสนคางคก โสนอินเดียเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน อาจทำให้ดินร่วนซุย ถ่ายเทอากาศก็จริงอยู่ แต่หากใช้ร่วมกับหินภูเขาไฟอย่างภูไมท์ซัลเฟต(สีแดง)ที่ผลิตมาเพื่อปรับสภาพ ดินเค็มก็ยิ่งดีเป็นทวีคูณ และยังมี“ซิลิก้า”สารเพิ่มความแข็ง ทำให้เซลล์ลำต้นใบมีภูมิต้านทานต่อโรคแมลงมากขึ้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2หรือ 081-3983128 (ผู้เขียน)

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: