วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

แก๊สไข่เน่า...เรื่องน่าเศร้าของกุ้ง


สวัสดี ครับท่านผู้อ่านผู้ ติดตามข่าวสารบทความของชมรมฯ ทุกๆท่าน ผู้เขียนในฐานะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของชมรมฯท่านหนึ่งขอเป็นกำลังใจช่วยให้ พี่ๆน้องๆที่ประสบกับภัยแล้งไม่มีน้ำอุปโภค บริโภค รวมถึงน้ำที่ใช้ในการเกษตร ขอให้พ้นวิกฤตไวๆ สู้ๆ นะครับ เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงนี้โลกของเรากำลังเผชิญกับสภาวะอากาศที่แปรปรวนมาก ส่งผลโดยตรงต่อการเลี้ยงกุ้งเนื่องจากการจัดการฟาร์มยุ่งยากมากขึ้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของกุ้งเป็นอย่างมาก พอกล่าวถึงการจัดการฟาร์มคงหนี้ไม่พ้นเรื่องแก๊สในบ่อเลี้ยงที่คอยสร้าง ปัญหาสร้างความยุ่งยากให้ผู้เลี้ยงมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นกุ้งลอยหัว กุ้งป่วยเป็นโรค กุ้งมุดเลน กุ้งตาย ซึ่งเกิดจากแก๊สไข่เน่าที่หมักหมมอยู่นานบนพื้นบ่อ และนั้นก็ปัญหาที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของกุ้ง แก๊สไข่เน่าหรือที่ศัพท์ราชการเรียกว่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ สาเหตุที่ชาวบ้านเรียกแก๊สไข่เน่าก็เพราะว่ามีกลิ่นเหม็นมากเหมือนไข่เน่า นั่นเองแก๊สชนิดนี้เป็นแก๊สพิษชนิดที่ว่าสามารถปลิดชีพกุ้งในบ่อให้ตาย พร้อมๆกันได้ในปริมาณที่มากหรือทั้งบ่อซึ่งแก๊สดังกล่าวเกิดจากการย่อยสลาย สารอินทรีย์ในสภาวะไร้ออกซิเจนของ แบคทีเรียชนิดหนึ่ง จากนั้นก็ปลดปล่อยกำมะถันหรือซัลเฟอร์ออกมา มากเข้าๆจนเป็นพิษต่อกุ้งหรือสัตว์น้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งสัตว์จะแสดง อาการคล้ายกับขาดออกซิเจน แต่จะรุนแรงกว่าการขาดออกซิเจน

สารอินทรีย์ที่หมักหมมในบ่อเลี้ยงส่วนมากมาจากขี้กุ้ง เศษอาหาร ซากแพลงค์ตอน ที่แทรกซึมฝังตัวในดิน หากลองขุดดินเลนขึ้นมาดู นอกจากจะเห็นเลนเป็นสีดำแล้ว ยังได้กลิ่นอันไม่พึงปรารถนาตามมาด้วย สาเหตุที่ดินกลายเป็นสีดำนั้นเป็นเพราะมีออกซิเจนไม่เพียงพอต่อกระบวนการ ย่อย เมื่อกุ้งที่หากินตามหน้าดินได้รับแก๊สโดยตรง ก็จะเริ่มป่วย ลอยหัว ค่อยๆตาย ชนิดที่ว่าแข่งกันตายแบบวันเว้นวัน ยิ่งเป็นช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ อุณหภูมิต่ำ กุ้งจะมุดเลนทำให้ได้รับแก๊สพิษได้ง่ายขึ้น

แก้ปัญหาเบื้องต้นโดยการเปิดกังหันตีน้ำเพิ่มอออกซิเจนจากนั้นก็ดูดเลนสีดำเน่าเสียออกทิ้ง เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ระบายตะกอนของเสียที่ฟุ้งกระจายช่วงดูดเลนออก ขณะเปลี่ยนถ่ายน้ำควรตรวจเช็ค pH ควบคู่ไปด้วยป้องกัน pH แกว่ง โดยเฉพาะ pH น้ำบริเวณใกล้พื้นบ่อ อีกวิธีหนึ่งที่ไม่ต้องลำบากดูดเลนทิ้ง คือใช้บาซิลลัส MT 1 กิโลกรัมผสมน้ำเปล่าสาดให้ทั่วบ่อในปริมาณพื้นที่ 2 ไร่ เพื่อช่วยย่อยขี้เลน สิ่งปฏิกูลจากเศษอาหาร ซากสาหร่ายที่หมักหมมบนพื้นบ่อจนก่อให้เกิดแก๊สไข่เน่า จากนั้นก็หว่านสเม็คโตไทต์ ตามลงไปในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อจับแก๊สไข่เน่าที่เกิดจากขบวนการย่อยของจุลินทรีย์ในบ่อ ซึ่งอาจรวมไปถึงบาซิลลัส MT

วิธีหลังจะเป็นที่นิยมของผู้เลี้ยงกุ้ง มากกว่าดูดเลนทิ้ง เปลี่ยนถ่ายน้ำแล้วหว่านปูนปรับค่า pH น้ำ เนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหา และลดปริมาณแก๊สไข่เน่าลงได้ ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการไปโดยใช้เหตุอย่างไรก็ตามการควบคุมแก๊สไข่เน่าที่ ดีที่สุด คือการรักษาพื้นบ่อให้สะอาด รักษาระดับออกซิเจนให้อยู่ในระดับที่กุ้งต้องการ เท่านี้ปัญหาแก๊สไข่เน่าก็จะไม่กลายเป็นเรื่องเศร้าของผู้เลี้ยงกุ้งอีกต่อ ไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680 หรือผู้เขียน 081-3983128

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15123&Param2=8

ไม่มีความคิดเห็น: